ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Flash"

จาก TSWiki
(New page: '''ถ่ายรูปให้มีชาติตระกูล ตอนที่ 5: ว่าด้วย Flash'''---by Champ กล้องรุ่นใหม่ ๆ แทบ...)
 
แถว 123: แถว 123:
 
เรื่อง flash ก็เอวังโดยประการฉะนี้
 
เรื่อง flash ก็เอวังโดยประการฉะนี้
 
(ที่จริงมีอีกเยอะ แต่เขียนไปก็คงไม่ได้ใช้)
 
(ที่จริงมีอีกเยอะ แต่เขียนไปก็คงไม่ได้ใช้)
 +
 +
[[หมวดหมู่:เทคนิคการถ่ายรูป]]

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 16:57, 24 เมษายน 2550

ถ่ายรูปให้มีชาติตระกูล ตอนที่ 5: ว่าด้วย Flash---by Champ

กล้องรุ่นใหม่ ๆ แทบทุกตัวมี flash ทุกคนคงรู้ว่า flash มันเอาไว้ทำอะไร หน้าที่หลักคือ เอาแสง flash ไปทำให้ภาพมันสว่างขึ้น แต่หารู้ไม่ว่า flash มีคุณอนันต์ แต่ก็มีโทษมหันต์ โดยเฉพาะเวลาใช้ไม่ถูกกาละเทศะ ขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เคยเห็นคนพยายามถ่ายรูป พลุ รูปดาว รูปพระจันทร์ ด้วยการเปิด [b]flash[/b] โอ พระเจ้าช่วยกล้วยปิ้ง คิดได้ไง ท่านเหล่านั้นไม่รู้บ้างเลยหรือว่า flash กล้องที่เราใช้ ๆ กันมันมีระยะใช้งานจริงแค่ 2-3 เมตรก็หมดแรงข้าวต้มแล้้ว อีกตัวอย่างนึง พบเห็นได้ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่ชอบ(อ้างว่า) ลืม ปิด flash แล้วก็ สะเหร่อ ไปเปิดflash ตรงที่ีที่เค้าห้าม เช่น ตาม museum ตามงานต่าง ๆ

บ่นมาเยอะแล้ว เข้าสู่เนื้อหาจริงๆ ซะที

หลายคนคงเคยเปิด flash ใส่ตู้กระจก ตามพิพิฑภัณฑ์ (สะกดงี้ป่ะ) แล้วเกิดอาการแบบนี้

DSC00484.jpg

(credit: Eve) เหตุก็เนื่องมาจาก มันมีกระจกกั้นอยู่ (ก็เห็น ๆ กันอยู่) วิธีแก้ง่าย ๆ ก็เอียงกล้องนิดนึง หมุนมุมหน่อยนึง หลบให้แสง flash มันไม่เข้าตรง ๆ ก็จะได้ภาพที่น่าพอใจมากขึ้น เช่นนี้

DSC00483.jpg

อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ื และการลองผิดลองถูกนิดนึง คงไม่สามารถบอกได้ว่าต้องเอียงกี่องศา

แสงจาก flash บอกไปแล้วว่ามันเป็นแสงแข็ง ทำให้อารมณ์ในรูปเสียไป ลองดูความแตกต่างในสองรูปนี้

DSCF3409.jpg


DSCF3410.jpg


ข้อเสียอีกอย่างนึงของ flash คือ มันหยุดเหตุการณ์ทุกอย่งไว้ในเสี้ยววินาที ด้วยเหตุที่แสง flash มันแรง กล้องเลยเปิด shutter แป๊บเดียว (เทียบกับการถ่ายด้วยแสงธรรมชาติ) ทำให้ได้ภาพที่ไม่เห็น [b]การเคลื่่อนไหว[/b] ตัวอย่าง

DSCF0559.jpg


DSCF0560.jpg

จะเห็นไ้ด้ว่ารูปที่ไม่ใช้ flash จะมี speed shutter ต่ำกว่า ทำให้เห็นมือเคลื่อนไหว ให้อารมณ์ไปอีกแบบนึง แต่ต้องถือกล้องให้นิ่ง ๆ ไม่งั้นก็ใ่ช้ขาตั้งเลย ไม่งั้นมันจะสั่นแบบรูปนี้

สองอันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่าง รูปแรกใช้ flash ได้อารมณ์นึง

DSCF4485.jpg

ปิดflash ไ้ด้อีกอารมณ์นึง

DSCF4486.jpg

จะเห็นว่า ประโยชน์ของการ [b]ปิด flash [/b] คือ ภาพจะดูมีมิติมากขึ้น เห็นความตื้นลึกหนาบาง

อีกตัวอย่างของภาพแสงธรรมชาติที่ให้มิติมากกว่า

P8025813.jpg

(credit: Abby)


พักหายใจ

ต่อ ๆ

การใช้ flash โดยไม่ยั้งคิด อาจจะให้ผลเป็นที่น่า[b]ไ่ม[/b]่พอใจ แบบนี้

DSCF5093.jpg

อันนี้ภาษาคนถ่ายรูปเค้าเรียก ปรากฏการณ์ หลังจม คือแสงflash มันไปไม่ถึงข้างหลัง (ถ้าถึงก็แปลกแล้ว) ทำให้ข้างหลังจมหายไปเลย มองไม่เห็น หรือเห็นก็ไม่รู้เรื่อง

แต่บางครั้งการถ่ายรูปแบบหลังจม ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าต้องการภาพเหตุการณ์ในที่แสงน้อย ๆ แล้วไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากเปิด flash


อันนี้เป็นอีกตัวอย่างนึงของภาพหลังจม

DSCF7469.jpg

ถึงไม่จม 100% แต่ก็เสียความงามของแสงสุดท้ายของวัน ริม lake ไปอย่างน่าเสียดาย

วิธีแก้ปัญหา กล้องหลายรุ่น มีฟังก์ชั่นที่เรียกว่า slow-synchro flash หรือ flash slow หรือ slow เฉย ๆ ลองไล่หาดูในโหมด flash ที่มันเป็นตัว [color=#FF0000][b]S[/b][/color] วิธีการก็ถ่ายเหมือนธรรมดา แต่จะได้ภาพที่มีพื้นหลังมาด้วย ตัวอย่าง

DSCF7475.jpg

สองภาพนี้ถ่ายริม lake เวลาใกล้เีคียงกันมาก ๆ แต่อันนึงเปิด flash ธรรมดา อันหลังเปิด slow-sync flash หลักการง่าย ๆ ก็คือ กล้องมันจะเปิดรู shutter ให้นานนิดนึง พอให้แสงข้างหลังเ้ข้ามาได้ เสร็จแล้วจะเปิด flash ตบเข้าไปบนหน้า ทำให้เห็นแสงสว่างชัดสวยทั่วทั้งภาพ

อีกตัวอย่างนึงของการเปิด slow-sync flash

DSCF6125.jpg


แล้วถามว่าจะรู้ได้ไงว่าต้องใช้อะไรตอนไหน คำตอบคือ ประสบการณ์ มีกล้องอยู่ในมือ ก็ถ่ายไป ซื้อกล้องมา มีคู่มือ ก็อ่านบ้าง ฟังก์ชั่นมันมีให้ ก็ใช้บ้าง จะได้คุ้มกับเิงินที่ลงทุนไป

แต่เทคนิคง่าย ๆ ที่เราใช้แล้วได้ผลคือ ปิด flash ตลอดชาติ ไม่ว่าสภาพแสงจะเป็นยังไง แล้วถ้ามันออกมาไม่ดี ค่อยเปิด ไม่ใช่เปิด แล้วภาพเละ หรือคนข้าง ๆ หันมาด่า แล้วค่อยปิด ถึงตอนนั้นก็สายไปแล้ว แถมเปลืองแบตอีกต่างหาก

เรื่อง flash ก็เอวังโดยประการฉะนี้ (ที่จริงมีอีกเยอะ แต่เขียนไปก็คงไม่ได้ใช้)