Flash

จาก TSWiki

ถ่ายรูปให้มีชาติตระกูล ตอนที่ 5: ว่าด้วย Flash---by Champ

กล้องรุ่นใหม่ ๆ แทบทุกตัวมี flash ทุกคนคงรู้ว่า flash มันเอาไว้ทำอะไร หน้าที่หลักคือ เอาแสง flash ไปทำให้ภาพมันสว่างขึ้น แต่หารู้ไม่ว่า flash มีคุณอนันต์ แต่ก็มีโทษมหันต์ โดยเฉพาะเวลาใช้ไม่ถูกกาลเทศะ ขอยกตัวอย่างง่าย ๆ เคยเห็นคนพยายามถ่ายรูป พลุ รูปดาว รูปพระจันทร์ ด้วยการเปิด flash โอ พระเจ้าช่วยกล้วยปิ้ง คิดได้ไง ท่านเหล่านั้นไม่รู้บ้างเลยหรือว่า flash กล้องที่เราใช้ ๆ กันมันมีระยะใช้งานจริงแค่ 2-3 เมตรก็หมดแรงข้าวต้มแล้้ว อีกตัวอย่างนึง พบเห็นได้ทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่ชอบ(อ้างว่า) ลืม ปิด flash แล้วก็ สะเหร่อ ไปเปิด flash ตรงที่ีที่เค้าห้าม เช่น ตาม museum ตามงานต่าง ๆ

บ่นมาเยอะแล้ว เข้าสู่เนื้อหาจริงๆ ซะที

หลายคนคงเคยเปิด flash ใส่ตู้กระจก ตามพิพิธภัณฑ์ แล้วเกิดอาการแบบนี้

DSC00484.jpg

(credit: Eve) เหตุก็เนื่องมาจาก มันมีกระจกกั้นอยู่ (ก็เห็น ๆ กันอยู่) วิธีแก้ง่าย ๆ ก็เอียงกล้องนิดนึง หมุนมุมหน่อยนึง หลบให้แสง flash มันไม่เข้าตรง ๆ ก็จะได้ภาพที่น่าพอใจมากขึ้น เช่นนี้

DSC00483.jpg

อันนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ื และการลองผิดลองถูกนิดนึง คงไม่สามารถบอกได้ว่าต้องเอียงกี่องศา

แสงจาก flash บอกไปแล้วว่ามันเป็นแสงแข็ง ทำให้อารมณ์ในรูปเสียไป ลองดูความแตกต่างในสองรูปนี้

DSCF3409.jpg


DSCF3410.jpg


ข้อเสียอีกอย่างนึงของ flash คือ มันหยุดเหตุการณ์ทุกอย่งไว้ในเสี้ยววินาที ด้วยเหตุที่แสง flash มันแรง กล้องเลยเปิด shutter แป๊บเดียว (เทียบกับการถ่ายด้วยแสงธรรมชาติ) ทำให้ได้ภาพที่ไม่เห็น การเคลื่่อนไหว ตัวอย่าง

DSCF0559.jpg


DSCF0560.jpg

จะเห็นไ้ด้ว่ารูปที่ไม่ใช้ flash จะมี speed shutter ต่ำกว่า ทำให้เห็นมือเคลื่อนไหว ให้อารมณ์ไปอีกแบบนึง แต่ต้องถือกล้องให้นิ่ง ๆ ไม่งั้นก็ใ่ช้ขาตั้งเลย ไม่งั้นมันจะสั่นแบบรูปนี้

สองอันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่าง รูปแรกใช้ flash ได้อารมณ์นึง

DSCF4485.jpg

ปิดflash ไ้ด้อีกอารมณ์นึง

DSCF4486.jpg

จะเห็นว่า ประโยชน์ของการ ปิด flash คือ ภาพจะดูมีมิติมากขึ้น เห็นความตื้นลึกหนาบาง

อีกตัวอย่างของภาพแสงธรรมชาติที่ให้มิติมากกว่า

P8025813.jpg

(credit: Abby)


พักหายใจ

ต่อ ๆ

การใช้ flash โดยไม่ยั้งคิด อาจจะให้ผลเป็นที่น่าไ่ม่พอใจ แบบนี้

DSCF5093.jpg

อันนี้ภาษาคนถ่ายรูปเค้าเรียก ปรากฏการณ์ หลังจม คือแสงflash มันไปไม่ถึงข้างหลัง (ถ้าถึงก็แปลกแล้ว) ทำให้ข้างหลังจมหายไปเลย มองไม่เห็น หรือเห็นก็ไม่รู้เรื่อง

แต่บางครั้งการถ่ายรูปแบบหลังจม ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าต้องการภาพเหตุการณ์ในที่แสงน้อย ๆ แล้วไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากเปิด flash


อันนี้เป็นอีกตัวอย่างนึงของภาพหลังจม

DSCF7469.jpg

ถึงไม่จม 100% แต่ก็เสียความงามของแสงสุดท้ายของวัน ริม lake ไปอย่างน่าเสียดาย

วิธีแก้ปัญหา กล้องหลายรุ่น มีฟังก์ชั่นที่เรียกว่า slow-synchro flash หรือ flash slow หรือ slow เฉย ๆ ลองไล่หาดูในโหมด flash ที่มันเป็นตัว S

วิธีการก็ถ่ายเหมือนธรรมดา แต่จะได้ภาพที่มีพื้นหลังมาด้วย ตัวอย่าง

DSCF7475.jpg

สองภาพนี้ถ่ายริม lake เวลาใกล้เีคียงกันมาก ๆ แต่อันนึงเปิด flash ธรรมดา อันหลังเปิด slow-sync flash หลักการง่าย ๆ ก็คือ กล้องมันจะเปิดรู shutter ให้นานนิดนึง พอให้แสงข้างหลังเ้ข้ามาได้ เสร็จแล้วจะเปิด flash ตบเข้าไปบนหน้า ทำให้เห็นแสงสว่างชัดสวยทั่วทั้งภาพ

อีกตัวอย่างนึงของการเปิด slow-sync flash

DSCF6125.jpg


แล้วถามว่าจะรู้ได้ไงว่าต้องใช้อะไรตอนไหน คำตอบคือ ประสบการณ์ มีกล้องอยู่ในมือ ก็ถ่ายไป ซื้อกล้องมา มีคู่มือ ก็อ่านบ้าง ฟังก์ชั่นมันมีให้ ก็ใช้บ้าง จะได้คุ้มกับเิงินที่ลงทุนไป

แต่เทคนิคง่าย ๆ ที่เราใช้แล้วได้ผลคือ ปิด flash ตลอดชาติ ไม่ว่าสภาพแสงจะเป็นยังไง แล้วถ้ามันออกมาไม่ดี ค่อยเปิด ไม่ใช่เปิด แล้วภาพเละ หรือคนข้าง ๆ หันมาด่า แล้วค่อยปิด ถึงตอนนั้นก็สายไปแล้ว แถมเปลืองแบตอีกต่างหาก

เรื่อง flash ก็เอวังโดยประการฉะนี้ (ที่จริงมีอีกเยอะ แต่เขียนไปก็คงไม่ได้ใช้)