The Hotchkiss School
อัพเดทล่าสุด 1 กพ 2560 by พี่ก้อง TS59
เนื้อหา
ที่ตั้ง & ประวัติโดยย่อ
หอดขีดสกูนเป็น 1 ใน 8 schools association (andover,exeter,deerfield,choate,st.paul's,lawrenceville,NMH) นะจ้ะ ตะก่อน รร เราเปนประมาณ feeder ของ Yale จ้ะ (เหมือนเป็น รร ป้อนเด็กเข้าเยลอะ) มีศิษย์เก่าที่มีชื่อเลียงหลายท่าน เช่น Henry Ford,เจ้าของ Mars (ช็อกโกเเลตมาร์อะจ้ะ), Henry Luce ( co-founder ของนิตยสาร TIME), ผู้ก่อตั้ง Morgan Stanley, ญาติของปธน. Bush ที่ไม่ได้ไป andover,Tom Werner (Chairman ของ Boston Red Sox) ปิ่น จักกะพาก etc. รร เรามีสายสัมพันธ์กับ รร มัธยมที่ปักกิ่ง เคยมีศิษย์เก่าเป็นเอกอัครราชทูตที่จีนด้วยจ้ะ //Head of master คือ Mr.Craig Bradley ค่อนข้างเป็นกันเองกับเด็กๆชอบเดินถามสารทุกข์สุขดิบเด็กๆ เวลามีแข่งกีฬาก้อไปเชียเด็กๆที่สนามตลอด // ที่นี่มีเด็ก international เปอเซ็นสูงอยู่ ถ้าเอเชียก้ส่วนมากเปนจีน เกาหลี ฮ่องกง
- Hotchkiss เป็นโรงเรียนสหศึกษา ตั้งอยู่ในเมือง Lakeville ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆใน Connecticut
- จริงๆจะว่าอยู่ในเมืองก็ไม่ใช่ เพราะโรงเรียนถูกล้อมรอบด้วยทะเลสาบ ป่า และฟาร์ม เราไม่สามารถเดินออกมาถึงเมืองได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยรถคนอื่นมา
- ทะเลสาบสวยมาก ไปนั่งชิวได้ ป่ามี trail เข้าไปสำรวจได้
- เนื่องจากความ"ป่า"ของโรงเรียน สัญญาณโทรศัพท์เข้าไม่ถึง แต่ wifi โรงเรียนเร็วมากๆ (อัพเดทปี 59 สัญญาณเข้าถึงเป็นจุดๆอยู่ไปเด๋วก้อรู้เองว่าตรงไหนใช้ได้บ้าง แนะนำให้ใช้เครือข่าย at&t ส่วนไวไฟเร็วหัวแตกครับ)
- โรงเรียนอยู่ใน Connecticut ใกล้โรงเรียนที่เพื่อนคนอื่นๆไปอยู่พอสมควร มีโอกาสเจอเพื่อนมากกว่าไปอยู่โรงเรียนในรัฐไกลๆ
- เว็บไซต์โรงเรียน www.hotchkiss.org
- Rival คือ Taft School ทุกปีจะมี Taft Day เราก็จะแข่งกีฬากัน บางทีรรเราไป Taft บางปีเค้าก้อมา ปีล่าสุดพี่ไปแข่งที่ Taft ปีหน้า taft ก็จะมารรเรา (พี่ก้อง)
- อันไหนที่พี่อัพเดทล่าสุด (พี่ก้อง 59) พี่จะไฮไลท์ไว้นะครับ ส่วนที่เหลือถ้าพี่ไม่ได้ลบก็ถือว่ายังจริงอยู่นะครับ
- ด้วยความที่รุ่นพี่ส่วนใหญ่ทำชื่อเสียงไว้ดี (อาจจะดีเกินไป โดยเฉพาะพี่มุม ฮ่าๆ) ทำให้เราอยู่ง่ายเพราะคนจะ respect เราในฐานะคนฉลาดคนหนึ่ง ไม่ค่อยมีใครมาระรานหรือดูถูกให้เสียอารมณ์ อาจารย์หลายๆคนก็ชื่นชอบ TS รับประกันได้ว่าอย่างน้อยตอนเราเข้ามาภาพลักษณ์เราก็จะดีมากแล้ว
- เป็นรร Tier I ในรายชื่อของกพร่วมกับ Andover, Exeter, Lawrenceville, Hotchkiss, Choate, Deerfield (อ้างอิงลำดับปีล่าสุด)
**ในหมู่รายชื่อเพรพสคูลที่กพส่งนรไทยไป Hotchkiss เป็นรรอันดับ 4 รองจาก Andover, Exeter, และ Lawrenceville แต่ Hotchkiss เป็นรรที่โดดเด่นด้าน Humanities, Arts, และ Social Science มากกว่าสายเลข วิทย์ เพราะฉะนั้นการมา Hotchkiss จะทำให้น้องที่เก่งวิทย์/เลข oustanding มากๆ (พี่มานี่แล้วเก่งเลขที่สุดในรรแบบงงๆ55555) ถ้าน้องไป Andover/Exeter/Lawreceville จะโดดเด่นยากเพราะรรใหญ่ (ไม่ใช่ว่ารรไม่ดีนะแต่คนเก่งเยอะจะเด่นยาก) เพราะฉะนั้น!! ถ้าน้องตามหารรดัง แต่โดดเด่นได้ การบ้านชิว มีเวลาเตรียมตัวอย่างอื่น ที่นี่คือที่ของน้องๆครับบ**
ข้อมูลทั่วไป
- มีนร.ราวๆ 600 คน ระหว่างเกรด 9 - 12 and PG
- เป็น boarding student (เด็กหอ) ราวๆ 93% ถ้าตามจำนวนนักเรียนถือเป็นโรงเรียนขนาดกลางๆ
- PG มีราวๆ 15 คน (ปี 59)
- Student:Faculty Ratio 5:1 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ต่ำมาก กล่าวคือจำนวนอาจารย์ต่อนรเยอะ ดูแลทั่วถึงมากๆ
- ปี 59 มีคนไทย 4 คนรวมพี่ จะจบออกไป 2 คน ถ้าน้องมาก็จะเป็นคนที่สาม คนแรกผชชื่อพีทปีนี้เป็น junior คนที่สองผญชื่อนีน่าเป็น freshman ได้ยินว่าน้องสาวนีน่าก็อยากเข้า hotchkiss เพราะฉะนั้นอาจจะมีมากกว่า 3 คนปีหน้า ถ้าได้มารรนี้แน่ๆเด๋วพี่แนะนำให้รู้จัก
วิชาการ
Introduction
- รร เป็นระบบ semester ปีนึงมี2เทอม เเบ่งเป็น 4 marking periods เกรดจะออกทุกmarking period (MP1+MP2) เฉลี่ยกันเป็น 1st semester grade ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งให้มหาลัยดู) ส่วนเกรด MP3+4 (หลัง Christmas Program) ไม่มีผลต่อ college acceptances เเล้ว เเต่อย่าให้เกรดดิ่งเกินไปนัก ยังต้องส่ง final transcrpit ไปให้มหาลัยที่เรา enroll ด้วย ข้อดีของการมี 2 เทอมคือน้องจะปล่อยเกรดได้หลังกลับจาก Christmas Program เย้ พี่ก็ใช้เวลา hang out นอน แล้วก้อออกกำลังกาย น่าสงสารเพื่อนที่มี 3 เทอมจัง จะปล่อยเกรดตกก็ไม่ได้
- ระบบเกรดจะเป็น 12-GPA points: 12 = A+, 11 = A, 10 = A-... ในหนึ่งเทอมถ้าเฉลี่ยมากกว่า 10.5 ได้ First Honor Roll มากกว่า 9.5 ได้ Second Honor Roll เท่าที่พี่รู้ส่วนใหญ่ TS ก็ได้กัน 11 เป็นอย่างน้อย ก็อย่าพยายามต่ำกว่านั้น พยายาม push ตัวเอง
- รร.เริ่มตั้งแต่ 8.30 AM - 3.20 PM ในวันปกติ 8.50- 12.10 วันพุธ และ 8.30-11.55 วันเสาร์ มีคาบว่างเป็นพักๆ แล้วแต่ตารางเวลาของน้อง
- น้องมาที่นี่จะได้เป็น PG (post-graduate) จะเลือกลงวิชาอะไรก็ได้ แต่เพื่อการสมัครมหาลัยก็ควรเลือกพวก AP หรือสูงกว่า AP ไว้บ้าง เพราะจะดูดีบนทรานสคริปต์
- ถ้าน้องถนัดด้านใดด้านหนึ่งจริงๆ อาจจะเลือกเรียน independent studies ก็ได้ ก็จะได้เรียนเนื้อหาที่ลึกกว่าธรรมดา เช่น ในคลาส independent study ของ Math นักเรียนกับครูจะช่วยกันเลือกหัวข้อยากๆมา discuss แล้วก็ทำ project
- ถึงแม้จะเลือกวิชาอะไรก็ได้ น้องอาจจะถูก"บังคับ"ให้ลง US History อยู่ดี เพราะที่นี่มีนโยบายว่าเด็ก international ควรเรียนวิชานี้ทุกคน (อัพเดทปี 59 พี่โดนบังคับลง 5555555)
- ส่วนเรื่องจำนวนวิชาที่เรียน อันนี้แล้วแต่คน เด็กที่นี่เรียนกันตั้งแต่ 4-7 วิชา แต่สำหรับ TS ถ้าไม่ 5 ก็ 6 วิชาดีสุด (6 วิชาอาจจะเหนื่อยเป็นพิเศษ)
- ถ้าไม่มั่นใจว่าอยากเรียนวิชานั้นๆมั้ย ก็ลงเรียนไปก่อนได้เลย ภายในสองอาทิตย์แรกของเทอมเรียกว่าช่วง drop & add สามารถดรอปหรือเพิ่มวิชาได้ โดยที่ไม่ขึ้น record ในทรานสคริปต์ เพราะงั้นสมมติไปคลาสเลขแล้วคิดว่ามันยากเกินไป ภายในสองอาทิตย์ก็ไปหา registrar office แล้วก็เลือกคลาสที่ง่ายลงมาได้จ้า (เกินสองอาทิตย์ก็ drop ได้แต่มันจะขึ้นในทรานสคริปต์ว่าเราดรอปวิชานี้ แต่ add เพิ่มไม่ได้แล้ว) พี่ดรอป/แอดไปสามสี่รอบอะเพราะงั้นเป็นเรื่องปกติมากๆของที่นี่
Mathematics (ลำดับเรียงจากง่ายลงไปยากนะ)
- AP Statistics: เนื้อหาไม่ยาก แต่มันเน้น explaination พี่เลยเสียคะแนนตรงนี้ แต่จจก็พออ้อนได้บ้าง อยู่ๆไปเด๋วก้อรู้เองว่าต้องอธิบายประมาณไหน ปกติก็น่าจะได้ A ได้ไม่ยาก แต่ให้ได้ A+ นี่ยากมากเพราะ Ms.Dixon Moon ตรวจข้อสอบโหด แถมชอบควิซแบบไม่รู้ตัว คะแนนก็แหกเป็นครั้งคราว
- AP Calculus BC: เรียน calculus เพิ่มเติมจากหลักสูตรม.ปลายของเมืองไทยพอสมควร แต่หลักๆเราก็เคยเรียนๆกันมาหมดละ เค้าจะเริ่มสองตั้งแต่วิธีดิฟ วิธีอินทิเกรต ไปจนถึงพวก applications ที่ในไทยไม่ได้สอน เช่น การหาปริมาตรของรูปทรงที่เกิดจากการเอากราฟมาหมุนๆรอบแกน x แกน y หรือ Taylor's Series ไรงี้ เป็นวิชาที่ไม่ต้องออกแรงมาก เรียนกับ Ms.Downs/Dr.Weiss วิชานี้เหมาะกับ: น้องที่วิชาเลขไม่ค่อยแข็งแรงแบบพี่ วิชานี้ไม่เหมาะกับ: น้องที่เก่งเลขและพื้นฐาน calculus ดี เพราะมันจะน่าเบื่อ น้องสามารถไปลง linear algebra กับ multivariable calculus ได้
- Linear Algebra: คนสอบมีคนเดียวคือ Dr.Weiss สอนดีมากๆๆๆ สอน TS มาหลายรุ่นมาก แต่บางครั้งเค้าก้อพูดงงๆ เรียนในคลาสถือว่ายากอยู่ บางวันยากจนต้องร้องขอชีวิต55555 แต่ข้อสอบจะง่ายกว่าที่เรียน ถ้าเลขไม่แข็งไม่แนะนำให้ลง เพราะคะแนนมาจากการสอบล้วนๆประมาณ 6-7 ครั้ง ถ้าสอบพังครั้งนึงก็หล่นไป A-/B+ ง่ายๆเลย(เพื่อนพี่คนนึงได้ A+ เกือบทุกครั้ง แต่ดันสอบตกครั้งนึง เกรดรวมกลายเป็น B) แถมคอร์สนี้บางครั้งการสอบเป็นการ proof theories/statement ซึ่งเป็นแนวสอวน.เลข ถ้าเคยเข้าค่ายมาจะช่วยได้มาก แต่ปกติถ้าทบทวนในห้องและเรียนรู้เรื่องหมดก็น่าจะทำได้
- Multivariable Calculus พี่(ก้อง)เรียนอยู่เทอมนี้เด๋วมาอัพเดทเพิ่มว่าเป็นไง
Science
- AP Physics C: เป็นวิชาฟิสิกส์ที่สูงที่สุดที่โรงเรียน offer รองจาก independent studies เรียนแยกเป็น 2 เทอม เทอมแรกเรียน Mechanics เทอมที่สองเรียน Electricity& Electromagnetism ทำแลปประมาณอาทิตย์เว้นอาทิตย์ บางทีก็เกือบทุกอาทิตย์ เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของฟิสิกส์ม.ปลาย มีแค่บางเรื่องที่ไทยไม่ cover เช่น Gauss's Law, Taylor's Series แต่ไม่ยากเกินไป ที่ยากที่สุดของคลาสนี้คือ Calculus เค้าคาดว่านักเรียนที่เรียนคลาสนี้จะต้องผ่าน AP Calculus มาแล้วทุกคน (ซึ่งเนื้อหามันมากกว่าเนื้อหา cal ในม.ปลายไทย) ดังนั้นจะไม่มีการสอน calculus เพิ่มเติมในคาบ สำหรับน้องที่ไม่เคยใช้ cal ทำฟิสิกส์มาเลยอาจจะช็อกได้ วิชานี้เหมาะกับ: น้องที่เคยใช้ cal ทำฟิสิกส์มาแล้ว วิชานี้ไม่เหมาะกับ: น้องที่ไม่เคยใช้ cal ทำฟิสิกส์มาก่อนเพราะมันจะเหนื่อยมากๆๆๆ เหมือนพี่5555 คำเตือน: อย่าเปรียบเทียบ AP Physics C ของแต่ละโรงเรียน มันต่างกันมากๆ บางโรงเรียนเรียนง่าย บางโรงเรียนเรียนยาก
- AP Chemistry: ถ้าเรียนที่ไทยได้มาเรียนก้อไม่มีปัญหาอะไร เก็บ A+ ไม่ยาก เนื้อหาไม่เกินที่ไทย แต่แค่อาจจะมีบางส่วนที่อธิบายเยอะกว่าหรือต่างกับที่ไทยนิดหน่อย พี่เรียนกับ Ms.Sullivan เค้าตรวจข้อสอบใจดี แต่ตรวจแล็บโหด (จริงๆถ้ารอบคอบก็ได้เต็มสบายๆแต่พี่ไม่ค่อยรอบคอบ ฮ่าๆ) ปัญหาของเด็กไทยอาจจะเสียตรงการอธิบายทฤษฎี แต่พี่ก้อไปอ้อนๆว่าพี่ไม่เคย explain เป็นอังกฤษเค้าก้อช่วยๆพี่ แบบอธิบายไม่ดีมากเค้าก้อช่วยๆให้ได้เต็ม 555555 Ms.Sullivan แอบบอกพี่ว่าเค้าเจอ TS ครั้งแรกตั้งแต่เมื่อ 20 กว่าปีก่อนเพราะฉะนั้นเวลาคุยกะเค้าจะ comfortable มากเพราะเค้าก้อพอรู้ background ของพวกเรา ปลพี่เคยเข้าค่ายสสวทเคมีมาเพราะฉะนั้นความยากง่ายอาจต่างกันตามผู้เรียน
Humanities
- AP Economics พี่ก้องกับพี่ข้าวโพดไม่ได้เรียนอะ ต้องลองไปถามพี่มุมดูนะ พี่รู้แค่ว่าเทอมแรก macroeconomics เทอมสอง microeconomics แต่ได้ยินว่าจริงๆคนสอนไม่ใช่คนเดิมกับ 3 ปีที่แล้ว แต่ถึงอยากจะลงก้อใช่ว่าจะได้ลงเพราะเป็นคอร์สยอดฮิตเต็มอยู่บ่อยๆ พี่(ก้อง)อยากลงแต่ลงไม่ได้ ดีออก
- U.S. History: พี่เรียนกับ Mr.Hanley ใจดี ไม่ให้จำพร่ำเพรื่อ เน้น critical thinking & discussion มีคะแนน participation มากกก(ราวๆ 40%) พยายามพูดในคลาสเยอะๆก็คะแนนดีได้แล้ว การบ้านไม่เยอะ เฉลี่ยอาทิตย์ละไม่เกิน 20 หน้า บางอาทิตย์ไม่ถึง 5 หน้าด้วยซ้ำ 55555555 เพราะเค้าชอบให้อ่าน primary document ซึ่งยากกว่าแต่สั้นกว่า(ปกติรรอื่นวันละ 20 หน้า) มี presentation debate essay บ้างอะไรบ้างแต่ก้อไม่ใช่เรื่องใหญ่เพราะเค้าก็ดูคะแนนความตั้งใจเราด้วย เค้าดูว่าเราเตรียมตัวสำหรับกิจกรรมขนาดไหนมากกว่า พยายามไปถามเค้าบ่อยๆเค้าก้อยินดีตอบตลอด
- AP US History (P'Pako TS55) รร ไม่บังคับให้ลง จะลงอะไรก้ตามสบาย วิชานี้อ่านเยอะที่สุดเเล้วเเจ้ะ มีให้อ่านทุกวัน เกรดหลักๆมาจากเขียนเอสเสสดในห้อง. ถ้าใครอยากลงปวศ อเมริกาเเบบ non AP ก็ใช้หนังสือเล่มเดียวกันน่ะ (ปล ใครสายวิทย์ หนูๆไปลงวิทย์เต๊อะ จะได้ชิวนา =w=)
English
- Senior English
by พี่ก้อง: วิชานี้เป็น electives course คือมีช้อยหลายช้อย แล้วแต่อยากเรียน literature สไตล์ไหนเช่น nature, gender, ghost, poem, leadership, short stories etc. เทอมแรกพี่เลือกเกี่ยวกับ gender กับ Ms.Gardiner อย่างเรื่อง gender theories อาจารย์ก็จะให้อ่านเกี่ยวนสกับ gender norm แบบ men tend to do sth, women tend to do sth โดยจะอ่านควบคู่ไปกับนิยายแล้วก้อให้ discuss กันว่า ตัวละคร oppose/follow gener norm ยังไง // Ms.Gardiner ใจดีเว่ออออ ควิซบ่อยซึ่งดี เพราะจะช่วยดึงคะแนนจาก essay แย่ๆของเรา เค้าให้เรา rewrite essay ได้ก็จะช่วยฉุดคะแนนเราขึ้น // essay ของ Ms.Gardiner จะไม่ยากแต่ได้คะแนนยาก งงมะ5555 คือ topic ไม่ยากแต่เค้าไม่ค่อยให้คะแนนสูงๆ ปกติพี่ได้ essay A- โดยเฉลี่ย ทั้งห้องมีได้ A น้อยมากกก วิชานี้น่าจะเหนื่อยสุดเพราะอ่านราวๆ 30 หน้าทุกวัน บางเล่มก็อ่านแทบไม่รู้เรื่อง พยายาม reach out หาอาจารย์เค้าก็ช่วยได้ อาจจะฟังดูเยอะแต่ถ้าน้องได้ไปปรับตัวที่ Brewster Academy ตอน summer อ่าน 30 หน้านี่สบายมาก เทอมสองพี่ก็เรียนกับ Ms.Gardiner เหมือนเดิม แต่เรียนเกี่ยวกับ comedy ซึ่งยากกว่าเทอมแรกเพราะเราจะไม่ค่อยเข้าใจ joke เค้า 55555 แต่ก้อสนุกดี ความยากของเทอมนี้ไม่ใช่ตอนอ่านแต่เป็นตอนเขียนเพราะเราจะไม่ชินกับ Joke เลย intepret ยาก นอกจากนี้ตอนจบเทอมต้องแสดงตลกด้วยมั้ง5555 นอกจากนี้ senior ทุกคนต้องทำ teagle ซึ่งเป็น senior thesis พี่อ่านนส 2 เล่มที่เขียนเรื่องเดียวกับแต่ผ่านมุมมองของตัวละคร 2 ตัว(นสชื่อ everyday กับ another day)แล้วพี่ก้อเขียนเรื่องราวต่อจากตอนที่นสจบ เหมือนแต่งนสต่ออะ
by พี่ข้าวโพด: วิชาอังกฤษของ senior ที่นี่ดีอย่างนึงที่มันเป็น elective นั่นคือ จะมี choice ให้เราเลือกมากมาย เช่น Russian Literature, African American Literature, Short stories, บลาๆๆๆ ประมาณสิบนิดๆวิชา ที่เราสามารถเลือกเรียนได้ในเทอมนึง เทอมที่สองก็เลือกใหม่ เทอมแรก พี่เลือกเรียน Short Stories กับ Mrs. Buckles จะเรียนพวกเรื่องสั้น อ่านเรื่องสั้นวันละเรื่องแล้วมา discuss ในคลาส มี essay บ้างเป็นครั้งคราว มีสิ่งที่เรียกว่า ticket คือ 1-page essay เขียนอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในวันนั้นๆ ที่พี่ชอบทำคือแต่งบทพูดของตัวละครใหม่ หรือไม่ก็ลองเล่าเรื่องจากมุมมองของอีกตัวละครยังงี้ เรื่องสั้นสนุกตรงที่รู้สึกเหมือนเราได้อ่านนิยายประมาณ 40 กว่าเรื่องในเทอมเดียวอ่ะ ได้อ่านเรื่องใหม่ๆตลอด discussionในคลาสก็ทำให้เราเห็นว่าเพื่อนมีความคิดเห็นยังไงกับเรื่องที่อ่าน สนุกดี ตอนหมดเทอมก็เขียนเรื่องสั้นส่งเรื่องนึงเป็น final project เทอมที่สอง พี่เรียน Classy Classics กับ Mrs. Buckles อีกนั่นแหละ5555 พี่ชอบอาจารย์คนนี้ น่ารักดี มีมุกตลก ฮาตลอด วิชานี้ก็เรียนเกี่ยวกับ Classic Literatures ตั้งแต่แบบ Beowulf ซึ่งเป็นงานกลอนเรื่องแรกของอังกฤษ ยันแบบบทละครของอเมริกันที่ได้ชื่อว่าดีมาก เทอมนี้หนังสืออ่านยากกว่าเทอมแรก แล้วก็เน้นไปด้าน presentation มากกว่า essay ในเทอมสองนี้ senior ทุกคนต้องทำ project ที่ชื่อว่า "teagle" เป็น graduation requirement พูดง่ายๆว่าไม่ทำก็เรียนไม่จบ teagle เป็น paper ขนาด 10-20 หน้า ทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับ literature อาจจะทำ analysis paper วิเคราะห์ theme ของเรื่องสองเรื่อง หรือ อาจจะแต่งเรื่องของตัวเองโดยใช้แนวการเขียนของนักเขียนสักคน ส่วนตัวพี่แปลกลอนพระอภัยมณีตอนหนีนางผีเสื้อจ้า
- Shakespeare and the Bible:Literary Criticism(by P'Pako TS55): คือเป็นคอร์สอังกฤษอะจ้ะ. ปกติพี่ปีก่อนๆเค้าลง Senior English เเต่พี่ลงคอร์สนี้เพราะดูน่าสนใจมาก. ก้ตามชื่อคอร์สเลยนะ มีการบ้านให้อ่านก่อนคือ หนังสือชื่อ The Elizabethan World Picture (อ่านยากนิดนึง ภาษาเก่าหน่อย เล่มนี้จะเปนงานเเรกๆพอเปิดเทอม) เทอมเเรกจะเริ่มที่ เชคสเปียร์ Troilus and Cressida (มีเปเปอร์ใหญ่ตามมา). จากนั้นอ่านไบเบิล ทั้งold/new testament (genedis, luke,mark,matthew). มีเปเปอร์เมื่อเรียนจบ genesis, เเล้วก้มีอีกเปเปอร์ ซึ่งเเทบจะเป็นเกรดของ marking period นั้นเลย คือให้วิเคราะห์ painting ผนวกกับ gospels จ้ะ (เห็นป่าวว่าคอร์สนี้ได้อ่าน ได้เขียน ได้เรียรอะไรที่ใหม่มากๆ เราไม่เคยเรียนที่ไทย ตอนเเรกเเน่นอนว่ายาก เเต่พอเรียนไปเเล้รคอร์สนี้ไม่ได้พัฒนาอังกฤษเเบบตื้นๆนะ คอร์สนี้ทำให้เราวิเคราะห์ western literature เเบบเจาะลึก ครูที่สอนมีคนเดียวคือ Mr.Faison เค้าเ่ป็นตำนานเลยนะ สอนดีมากมากกกกกก เป็นศิษย์เก่าเซนต์ปอลกับฮาวาร์ด) เเล้วจบที่เชคสเปียร์ Richard II (มีเปเปอร์ตามมาอีกเช่นเคย 4-5หน้า) พอเทอมสอง คราวนี้เรียน Henry IV ,V, Hamlet, เเละอีกหลายเรื่อง.
Music and Arts
- Senior Music Performance: มาถึงวิชาโปรดของพี่ ไฮไลท์ของ Hotchkiss คือน้องสามารถเรียนดนตรีเป็น private lesson ได้ "ฟรี!!" (โรงเรียนอื่นส่วนใหญ่เก็บตังค์5555) Senior Music Performance ให้น้องเลือกเรียนเครื่องดนตรี 1 เครื่องได้ โดยที่จะมีอาจารย์มาสอนตัวต่อตัวอาทิตย์ละสองครั้ง พี่เลือกเรียน flute (มีเครื่องของตัวเอง) อาจารย์ก็สอนละเอียดมากๆ ตั้งแต่เรื่องรูปปากยันเทคนิคการเล่นดีๆ แล้วจากการที่วิชานี้คิดเกรดทำให้เรามุ่งมั่นซ้อมดนตรีบ่อยด้วย 5555 หมวดดนตรีมีห้องซ้อมดนตรีประมาณสิบกว่าห้องที่น้องเข้าไปใช้ได้เลย เป็นส่วนตัวมากๆ จริงๆ วิชานี้ถ้าเราซ้อมไม่พอเกรดจะตกง่ายมากเพราะครูจะรู้ว่าเราไม่ได้ซ้อม ถ้าน้องอยากเรียนดนตรีแต่ไม่อยาก commit ขนาดนี้ก็เรียน non-credit lesson ได้(จ่ายตังค์) ถ้าไม่มีเครื่องดนตรีก็ได้ยินมาว่าสามารถเช่าบางเครื่องได้เหมือนกัน
- ตามชื่อวิชาเลยจ้า Orchestra สัปดาห์ละสองครั้ง ต้องออดิชั่นเข้า แต่จริงๆก็ไม่ได้ยากอะไรแค่ไปเล่นๆให้ครูที่คุมวงฟัง วิชานี้สำหรับ PG ไม่คิดเกรด เป็นแค่ Pass กับ Fail ไม่มีความกดดัน 5555 Orchestra มีการแสดงปีละประมาณ 2-3 ครั้ง ฝึกเล่น 4-5 เพลง บางทีก็เป็น concerto เล่นกับ piano, violin บางทีก็เล่นทั้งวงใหญ่ๆเลย ถ้าอยากรู้ว่ามันเป็นยังไง ทักหลังไมค์พี่มาได้ มีคลิปการแสดงให้ดู
Language
- Chinese(by P'Pako TS55) เนื่องจากพี่เคยเรียนมา Yu Laoshi น่ารักมากกกกกกก เอาใจใส่เด็กมากกกก สอนดีๆ
**โรงเรียนเราถือว่า WORKLOAD น้อยมากกกก น้องจะมีเวลาเตรียมตัว TOEFL, SAT, Essay หรือแม้แต่ hang out ถ้าแบ่งเวลาได้ดี [คำเตือน workload เป็นเรื่อง subjective ขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำงาน(และโกง) คอร์ส และอาจารย์ของน้อง]**
กีฬา & กิจกรรม
อัพเดทปี 59 ปัจจุบันก็ยังคล้ายๆกับที่เขียนไว้ข้างล่าง ส่วนกิจกรรมพี่เลือกตามนี้
Fall พี่เลือก Soccer ซึ่งดีงามมมม เพราะพี่ชอบเตะบอลอยู่แล้ว เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดใน Hotchkiss ของพี่เลยก็ว่าได้ ปกติซ้อม จ,อ,พฤ,ศ 16.00 - 17.30 พ,ส แข่ง มีทั้งแข่งที่รรแล้วก็นั่งบัสไปแข่งกับรรอื่นทำให้ได้เจอเพื่อนต่างรร แนะนำว่าถ้าเข้ากีฬาได้ให้เข้าเพราะจะทำให้เราได้เพื่อนเยอะมากกก พี่ได้เพื่อนจากทีมเยอะมากจริงๆ // ลืมบอกว่าพี่อยู่ third team รรเราไม่ค่อยให้ PG เล่น JV เพราะ JV เค้าไว้ปั้นเด็กๆขึ้น Varsity ตอนแรกพี่ได้ JV แต่โดนตัดไป 3rd แบบงงๆ ดีออกก แต่การเข้า Varsity แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะเล่นกันโหดจริงๆนอกจาก cross country ซึ่งเป็นทีมที่เค้ามองว่าเป็นทีมรวมคนที่คัดกีฬาอื่นไม่ติด แต่มหาลัยเค้าไม่รู้หรอก ลงไปก็ดูดีอยู่ดีแหละมั้งง
Winter พี่อยู่ Math team เพราะตึกกีฬาอยู่ไกลจากดอร์มพี่ (dana) ขกเดินไป ปกติ math team จะต้องไปตอน 15.30 - 17.00 วัน จ,อ,พฤ,ศ ปกติไปก็นั่งทำโจทย์ชิวๆกินขนมเล่นบางครั้งก็นั่งเล่นเฟส ไลน์ ทำการบ้าน 5555555 ถ้าเข้า math team น่าจะได้เพื่อนที่สนิทง่ายเพราะส่วนใหญ่เป็น asia ทำให้สนิทกันเร็ว (ปีพี่เป็นเอเชียทั้ง 9 คน)
ส่วน club พี่ทำนิดๆหน่อย มีเป็น Photographer ให้นสพ.รร.ที่ชื่อว่า Records, ไปจอย South East Asian Club (กำลังดำเนินการตั้งอยู่), ไปเขียนบทความลงหนังสือ No limit (STEM magazine which is published twice a year) พี่เขียนเรื่อง non-stoichiometric compounds
พวก activities จะแบ่งเป็น 2 อย่างหลักๆ
1. co-curricular activity: เป็นกิจกรรมภาคบังคับ คือนักเรียนทุนคนจะต้องทำเลือกทำหนึ่งกิจกรรมในลิสต์ที่โรงเรียนมีให้ในแต่ละช่วง (fall/winter/spring)
2. clubs: เป็นชมรมของนักเรียนที่สร้างๆกันเอง มักจะมีมีตติ้งตอนเย็นๆ ตอนเปิดเรียนแรกๆจะมีวันที่เราไปเลือกลง club ได้ บาง club จะส่งเมลล์หานักเรียนทั้งโรงเรียนเวลาที่มีมีตติ้งด้วย
พี่จะขอข้ามเรื่อง club เพราะมันไม่ค่อยตายตัว คือถ้าน้องไม่เป็น board member ของคลับนั้นๆ(คนหลักๆทีรันคลับ) ส่วนใหญ่ก็คือไปร่วมกิจกรรมกับเค้าเป็นครั้งคราว เช่น ไปเล่นไอซ์สเก็ตกับ Figure Skating Club/ ไปสร้างบ้านกับ Habitat for Humanity ปล. น้องสามารถสร้างคลับเองได้ โดยเขียน proposal แล้วก็หาอาจารย์สักคนมารับรองให้
มาดู co-curricular ดีกว่า
- co-curricular จะแตกต่างกันไปในแต่ละฤดู
- เราสามารถเลือกได้แค่ 1 อัน/ฤดู
1. Interscholastic sports: เป็นทีมกีฬาของโรงเรียนกีฬา ของแต่ละ season ดูได้ที่ https://www.hotchkiss.org/athletics
2. Intramural sports ของแต่ละ season: เป็นกีฬาเล่นขำๆเช่น club soccer, club basketball, club squash etc.
3. co-curricular project ของตัวเองได้ บางคนก็ฝึกเล่น ice-skate ด้วยตัวเอง บางคนแต่งเพลง บางคนวาดภาพ บางคนทำ animation บางคนเขียน application ลง appstore ยังมี ยอมใจจริงๆ แต่การจะทำ project ต้องขอ approval ด้วยไม่ใช่อยู่ดีๆจะไปทำ
4. Non-sport co-curricluar activities: กิจกรรมต่างๆที่ไม่ใช่กีฬา มีดังนี้
Fall
- Fly-fishing: เป็นอันที่พี่ข้าวโพดเลือกทำ คือไปตกปลากับเพื่อนแล้วก็ครูประมาณอาทิตย์ละสามสี่วัน โรงเรียนเราอยู่ใกล้ๆ Housatonic River ซึ่งเป็นแม่น้ำที่เหมาะกับการ fly-fish ซึ่งคือการตกปลาแบบใช้เหยื่อล่อเป็น fly ที่รูปร่างเหมือนแมลงน้ำ ที่พี่ชอบคือมันผ่อนคลายมากๆ ไปยืนกลางแม่น้ำชิวๆตอนเย็น แล้วก็ได้ออกจาก campus ด้วย
- FFEAT: ทำฟาร์มของโรงเรียน เท่าที่ได้ยินมาจะมีไปเก็บเกี่ยวพืขผัก จับไก่ ให้อาหารหมู และอื่นๆ
- Math Team: ทีมแข่งเลข (อัพเดทปี 59 ปีพี่เค้าไม่มี Math Team ช่วง Fall นาจาา มีแค่ winter แต่!!! Fall เค้าก็มีพาไปแข่งด้วยเช่น PUMaC กะ HMMT ซึ่งเป็นรายการใหญ่ พยายามติดตามข่าวสารไม่ก็ไปถามอาจารย์เลขว่าอยากไปแข่ง เค้ารู้อยู่แล้วว่า TS เก่งเลข ขอให้พาไปแข่งได้ แนะนำให้ติดต่อ Mr.Maier ไม่ก็ Mr.Ginzburg)
- HDA Tech crew: ทำฉากให้กับละครของโรงเรียน ตั้งแต่สร้างฉาก เพ้นท์ฉาก ยันควบคุมแสงเสียงเวลามีการแสดง น้องจะได้เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์ช่างไม้แบบต่างๆ ด้วย (พี่ทำอันนี้ตอน winter)
Winter
- Math Team
- HDA Tech crew
- The Mischianza: ทำ yearbook
- Team Dance: สำหรับนักเรียน dance
Spring
- HDA Tech crew
- FFEAT
- Woods squad: เป็นกรุ๊ปที่ทำกิจกรรม outdoor เช่น hiking, canoeing, etc. เนื่องจากรร.เราติดป่าและทะเลสาบ กิจกรรมนี้ก็น่าสนใจ
หอ & สิ่งอำนวยความสะดวก
- หอผู้หญิงจะอยู่ใกล้ๆ Main Building หอผู้ชายจะอยู่ห่างไปหน่อย หอผู้หญิงส่วนใหญ่เป็นหอเก่า หอผู้ชายส่วนใหญ่จะใหม่ๆ (อัพเดทปี 59 ไม่จริงครับน้อง พี่เป็นผชแต่ได้หอที่ขึ้นชื่อว่าเลวที่สุดในรร (Dana) แต่จริงๆก้อไม่แย่นะพี่โอเค เพราะพี่ได้ห้องเดี่ยว แม้เพื่อนจะบอกว่าเป็นห้องเดี่ยวที่เล็กที่สุดในรรแต่ก็ยังใหญ่กว่าหอเพื่อนๆรรอื่น อิอิ หอพี่เสียตรงแอบไกลจาก facilities อื่นๆ เช่น ตึกวิทย์ ตึกกีฬาแต่พี่เฉยๆเพราะมันคำว่าไกลก้อคือเดินไปไม่เกิน 5 นาที แล้วก้อมันทำให้คนไม่ค่อยมา hang out ที่หอ หอเลยเงียบเหมาะแก่การอ่านหนังสือ) ถ้าได้ Redlich, Flinn จะดีมากเพราะใหม่สุดๆ อย่างกะโรงแรม
- บางหอมีเครื่องซักผ้า บางหอไม่มี ทุกหอจะมีเครื่องขายขนม
- อาจจะได้อยู่ห้องเดี่ยวหรือมีรูมเมท
- มียิมไปออกกำลังกายได้ มีสระว่ายน้ำ และ Ice rink ที่เปิดให้เล่นสเก็ตได้บางครั้ง
- มีไปรษณีย์ ร้านสหกรณ์ กับธนาคารในโรงเรียน คำเตือน: เงินที่ฝากในธนาคารของโรงเรียนไม่สามารถเอามาใช้ในชีวิตจริงได้ เพราะมันจะเป็นเงินในบัตรนักเรียนซึ่งใช้จ่ายได้ในโรงเรียนเท่านั้น ธนาคารจริงๆที่ใกล้สุดชื่อ Salisbury Bank อยู่ในเมือง Lakeville ต้องให้ advisor ขับรถพาไป (ปัจจุบัน Salisbury Bank เอา ATM มาตั้งที่ดอร์ม Coy ตรง Security Service ไม่ต้องเข้าเมืองไปกดตังก็ได้)
- มีรถฟรีไปเมืองใกล้ๆชื่อ Millerton ทุกๆวันอาทิตย์ มีโรงหนัง ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ธนาคาร
- ประมาณ 2-3 ชั่วโมงจาก NYC นั่งรถไฟไปได้ Boston เดินทางยากกว่า ตอนนั้นพี่ให้ Peter เป็นคนขับไปส่ง Springfield Bus Station, MA แล้วก้อนั่งบัสไปบอสตันเอง (เด๋วอธิบายว่าไคคือ Peter ทีหลัง)
- ช่วงวันหยุด มักจะมี dance, โชว์สะกดจิต, ฉายหนัง และกิจกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะกิจกรรม outdoor ในช่วง fall อย่างเช่น Canoeing, Hiking
- บางสัปดาห์จะมีทริปไปเมือง Great Barrington เมืองสวรรค์ เพราะมีร้านอาหารไทย ร้านญี่ปุ่น ร้านอาหารจีน ร้านกาแฟ ร้านไอติมซึ่งดีงามทุกร้าน แต่ต้องนั่งรถ รร ไป คึ่งชม
- มีห้องพยาบาล ถ้าป่วย สามารถขอ red card เพื่อหยุดเรียนได้
- การเดินทาง ช่วงเบรก รร มีรถไปส่งที่สถานีรถไฟ wassaic (20นาที) ต้องจ่าย 10เหรียญ. จาก wassaic นั่งรถไฟไป Grand Central,NYC ราว 2ชม. เเล้วก็มี รร ยังมีรถไปส่งที่ JFK airport ด้วย รู้สึกจะ 35 เหรียญนะ" by P'Pako TS55
อาหาร
- อาหารที่นี่จัดว่าอร่อยในหมู่เพรพด้วยกัน รวมถึงค่อนข้างสุขภาพดีเพราะมีนโยบายใช้วัตถุดิบ local ไม่ว่าจะเป็นจากฟาร์มของโรงเรียนเองหรือฟาร์มใกล้ๆ
- ไฮไลท์คือ “ข้าว” ข้าวสวยของที่นี่นุ่มหอม อร่อยมากๆๆๆ ในขณะที่ของเพรพอื่นจะแห้งๆแข็งๆเป็นส่วนใหญ่
- มีสลัดบาร์ ขนมปังให้ทำแซนวิช กับผลไม้ เช่น สตรอเบอรี่ เกรปฟรุต แอปเปิล กล้วย บลาๆ ตลอด
- ถ้ากินไม่อิ่ม ก็ไปซื้อของกินที่ Snack bar ได้ มีพวก Bagel, Pretzel, Smoothies และอื่นๆ ขายในราคาที่ไม่แพงมาก
- เมนูทุกวันศุกร์ตอนกลางวันเป็นพิซซ่า
- วันอาทิตย์ไม่มีอาหารเช้า แต่เป็น Brunch ตั้งแต่ 9.30-12.30
- ยืนยันว่าอาหารยังอร่อยอยู่ครับ ข้าวหุงดีมากก นานๆอาหารจะรสชาติหมาไม่รับประทาน แต่ไม่ใช่ว่าเชฟห่วยแต่มันเป็นอาหารที่คนไทยกินยังไงก็ไม่อร่อยอะเช่นอาหารอเมริกันแปลกๆ แต่ถ้าน้องกินง่ายจะสบายมาก ระวังน้ำหนักขึ้น นอกจากนี้ในโรงอาหารจะมีไอศครีมให้กดแทบทุกวัน กดไปกดมากางเกงก้อจะคับขึ้นเรื่อยๆ
- อัพเดทปี 59 Breakfast 7.00 - 9.15, Lunch 11.30 - 13.45, Dinner 17.00 - 19.15 เวลาเปิด dining hall ค่อนข้างแน่นอนแต่เวลาปิดส่วนใหญ่ก้อปิดช้ากว่าจริง แบบ 9.30 ก็ยังไปกินได้ https://www.hotchkiss.org/students/dining-services/monthly-menu ดูเมนูได้ที่นี่ แต่บางครั้งเมนูก้อไม่ตรง
- อัพเดทปี 59 พี่ชอบสั่งอาหารจาก Golden Wok (Chinese) กับ Mizza's Pizza (American) ซึ่งรสชาติโอเค แต่จจอาหาร dining hall ถือว่ารสชาติโอเค บางมื้อที่เป็น formal dinner ยิ่งโคดอร่อยย แต่นานๆจะมีทีซึ่งดีแล้ว formal dinner มันจะทางการไป รรเราจะมีวัตถุดิบดีๆมาให้กิน เทียบกะรรหลายๆรรที่จะมีแต่ไก่ก รรเรามี Salmon ให้อยู่บ่อยๆ นานๆทีจะมี lobster มาให้กิน!! ย้ำว่า buffet นะน้อง พี่กิน lobster ตัวแทบแตก
กฏระเบียบ
-โรงเรียนใช้ no chance policy นะจ้ะ ส่วนกฎที่ควรรู้คือ ถ้าขาดเรียน หอประชุม หรือชาเปล จะ unexcused absence โดย 2 unexcused จะโดน detention คือให้ไปทำการบ้าน แบบมีคนคุมวันเสาร์ตอน 7.30pm-10.30pm ถ้ามาสาย จะได้ tardy โดย 3 tardy= 1 unexcused absence อ่านกฎละเอียดได้ที่เว็บไซต์รร พิมพ์ว่า academic regulations หรือ community regulations
-อัพเดทปี 59 จจ depend on ครูน้องด้วย พี่เคยลืมไปคลาส Dr.Weiss เพราะตื่นสาย 55555 พี่ก็ไม่โดน unexcused absence แบบงงๆ พี่ว่าเค้าลืมม
- ตารางระหว่างวันปี 59
ทุกวันจันทร์จะมี class meeting 10.00-10.40 เป็นการประชุมตามชั้นปี ของเราคือ senior โดดได้ แต่จจปกติแค่ 10 นาทีก็เสร็จแล้ว, senior ไป elfers hall ทุกวันอังคารมี all-school meeting ว่ากันว่าห้ามโดด พี่ก็ไม่เคยลอง 10.00-10.40 ไปนั่งฟังประกาศ รับราวัล ดูโชว์ ปกติพี่ไปนั่งหลับ, ไป elfers hall ทุกวันพุธมี advisory meeting 10.30-10.45 ไปคุยกับ advisor แล้วก้อเพื่อนๆ advisees คนอื่นๆ เหมือนไปคุยเรื่องทั่วๆไปมากกว่า, location แล้วแต่ advisor น้องจะนัด ทุกวันพฤหัสมี chapel 10.10-10.40 มี speakerไม่ก้อฟังดนตรีหรือร้องเพลง ห้ามโดด และแน่นอนว่าพี่หลับเช่นเคย, เข้า chapel ทุกวันศุกร์มี consultation period 10.00-10.40 อาจจะมี meeting แต่ส่วนใหญ่เป็นคาบว่าง
- เช็คอิน 4 ทุ่ม วันจันทร์-ศุกร์ เช็คอิน 5 ทุ่ม วันเสาร์-อาทิตย์
คนสำคัญ
คนสำคัญในที่นี่คือคนที่จะมีบทบาทในชีวิตของน้องที่โรงเรียนแห่งนี้ และสามารถทำให้วันร้ายๆเป็นวันดีๆ หรือกลับกันได้อย่างน่าอัศจรรย์
- College Counselor
ใน College office จะมี counselor 4 คน จะได้คนไหนนั้นเป็นดวงของน้อง คนๆนี้จะเป็นที่พึ่งเรื่องมหาลัยของน้อง ตั้งแต่การเลือกคอร์ส เลือกมหาลัย ยันส่งเอกสารให้มหาลัยที่น้องสมัคร เค้าจะเป็นหนึ่งในคนที่เขียน recommendation letter ให้น้องด้วย เนื่องจากแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบนักเรียนประมาณ 40 คน เค้าจะไม่ค่อยมีเวลามาคุยกับน้อง น้องควรจะนัดเวลาคุยกับเค้าบ่อยๆ เพื่อปรึกษาเรื่องมหาลัย แต่ทางโรงเรียนก็จะจำกัดเวลาลงเรื่อยๆอยู่ดี ดังนั้น อย่าคาดหวังว่าเค้าจะดูเรื่อง college essay ให้ ถ้าได้ Mr.Hazelton จะดีมาก
อัพเดทปี 59 รรจะมีช่วงที่เรียกว่า drop-in คือทุกวันศุกร์สามารถเค้าไปหา college counselor ได้โดยไม่ต้องนัด พี่ก็ไปทุกอาทิตย์ไป เล่าเรื่องตัวเองให้เค้าฟัง เค้าจะได้เขียน recommendation ให้เราได้ดีๆ
-Advisor
อัพเดทปี 59 พี่ได้ Mr.Yoo ซึ่งทุกคนบอกว่าเค้าไม่ค่อยดี พี่ว่าเค้าก้อไม่ได้แย่ แค่ไม่ค่อยแนะนำอะไรให้ แต่ถ้าขอให้พาเข้าเมืองก็พาไปนะ พี่เคยให้พาไปธนาคาร 5555
อาจารย์ที่ปรึกษาของน้องจะเป็นเหมือนพ่อแม่ในโรงเรียนนี้ น้องจะไปที่ไหนทำอะไรจะต้องผ่านเค้าซะส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็นการลง co-curricular activity ยันการลงคอร์ส เค้าจะเป็นคน Support น้องแบบสุดๆ มีปัญหาอะไรคุยกับเค้าได้เลย พี่ได้ Dr. Eso ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวดเลข คนนี้ใจดีมากๆๆๆๆๆๆ เหมือนแม่อีกคนเลย พาไปฝากเงินที่ธนาคาร ไปกินข้าวที่บ้าน ช่วยเหลือเรื่องอื่นๆอีกมากมาย
-Peter Friedman: Peter เป็นคนที่จะดูแลน้องๆช่วย Christmas Program เค้าจะเป็นหนึ่งใน reader คอยเช็ค essay ให้น้อง ภรรยาเค้าทำงานที่นี่ Ms.Friedman สอนภาษาอังกฤษ รสว่าเป็น head of department ด้วยมั้งแต่พี่ไม่ได้เรียนด้วย ว่างๆพี่ก้อไปนั่งคุยเล่นกับเค้าบ้าง ตอน Christmas น้องก็ติดรถเค้าไปได้ บางครั้งขอให้ไปส่งที่อื่นๆเค้าก้อพาไปถ้าเค้าว่าง
-Registrar
เป็นคนที่น้องจะไปดรอปหรือแอดคอร์สด้วย ช่วงแรกๆน้องอาจจะต้องเจอเค้าบ่อยตอนที่คอร์สที่ลงยังไม่เข้าที่แน่นอน
-Dorm Parent
เป็นคนที่คอยเช็คอินกับน้องในดอร์ม ถ้ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับรูมเมทหรือเรื่องต่างๆในหอก็ปรึกษาได้ ดอร์มพาเรนท์พี่ขยันทำขนมมาเลี้ยงเด็กมากๆ อิ่มหนำกันบ่อยๆจนตัวพอง
อาคารสำคัญๆ
- Academic Building เป็นศูนย์รวมทุกอย่าง คลาสเรียนทุกคลาสยกเว้น Science + Photography อยู่ที่นี่, Post Office, Library, School Store (ขายทุกอย่าง มีตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ), Snack Bar, Student Centre, Chapel, Walker Auditorium (เป็นโรงละครพี่เคยไปครั้งเดียว), Elfer Hall (อันนี้ไปบ่อยเพราะเวลามี all-school meeting จะจัดที่นี่ + class meeting ของ Senior ก็จัดที่นี่) etc. น้องจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ตึกนี้ ซึ่งดีทำให้ไม่ต้องเดินเปลี่ยนตึกไปๆมาๆให้เมื่อยตุ้ม ชั้นล่างสุดจะมี School Store, Post Office, Art Wing, Walker Auditorium, Elfer Hall, Dance Studio, School Bank ชั้น 1 มี Library, Dean Wings, Chapel, College counselor office, English Wing (พวกคลาส religion, philosophy ก็อยู่นี่), Faculty (meeting) room, Student Centre, Dining Hall, Snack Bar, International office ชั้น 2 มี Math Wing, Student Learning Centre, IT room, Language Wing
- Science Building ตามชื่อ ตึกเรียนวิทย์, Economics กับ Photography
- MAC (Mars Athletics Centre) เป็นตึกกีฬา แล้วก้อมี School Athletics Store ขายเสื้อผ้ากีฬา แล้วก้อ school spirit
- Dorms: พี่จำชื่อห้องยังไม่ได้ทุกหอเลยครับ
การเดินทาง
- New York เดินทางง่าย ปกติรรจะมีบัสไปส่งสถานีรถไฟ wassaic station นั่งเข้า NYC ราวๆ 2-3 ชม จาก NYC ไปเมืองอื่นได้เยอะแยะโดยการนั่งรถไฟหรือบัส เช่น Princeton, Philadelphia, Washington DC etc.
- Boston ลำบากกว่า New York ในกรณีที่น้องไม่สามารถติดรถคนอื่นไป น้องต้องนั่งรถบัสรรไปลง Bradley Airport ต่อ uber ไป Springfield Bus Terminal ต่อไป South Station ที่บอสตัน ลำบากชห555 แต่พี่โชคดีมีคนใจดี (Peter) ขับไปส่ง Springfield เลย
- SAT รรเป็นสูนย์สอบ
- TOEFL มีที่สอบไกลๆหลายที่เช่น Poughkeepsie, NY (1 hr), Glastonbury, CT (1.5 hr), Albany (1 hr) รรจะออกค่า taxi ให้ แต่ต้องตื่นเช้า
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
- อัพเดทปี 59 จริงๆเน็ตตัดเที่ยงคืนแต่พี่สนิทกับ Proctor ซึ่งเป็นนักเรียนที่เป็นหัวหน้าดอร์ม เค้ามีเน็ตใช้ 24 ชม พี่เลยขอมาใช้ตลอด5555555 เอาไว้ทำงานบ้าง เล่นบ้าง สไกป์บ้าง
- Dress code ที่นี่ไม่ Strict มาก สำหรับผู้หญิง ขอแค่แต่งให้ดูดี ไม่ใส่ยีนส์ก็พอแล้ว สำหรับผู้ชายก็ใส่เชิ้ต + tie/blazer/ทั้ง 2 อย่าง กับกางเกงที่ไม่ใช่ยีนส์ก็เอาอยู่ (วันที่มีงานสำคัญจะต้องใส่ dress code +1 คือผู้หญิงใส่เดรส ผู้ชายผูกไท ใส่สูท)
อัพเดทปี 59 รรปรับ Dress Code ให้ Strict น้อยลงช่วงก่อน Parents Weekend (ปลายเดือนตุลา) ใส่แค่โปโลก้อพอ ใส่ขาสั้นได้ จากเมื่อก่อนต้องใส่เต็มยศ
- รรมีบริการ Laundry Service ราคาเกือบๆ 1000 ดอลซึ่งแพงหัวแตกแนะนำว่าใช้เครื่องซักผ้าจะดีกว่าเพราะแทบทุกดอร์มมีเครื่องซักผ้า ดอร์มพี่มีเลยสะดวกมาก
- รรเราจะไม่เรียก Freshman, sophomore, junior, senior แต่จะใช้คำว่า prep, lower-mid, upper-mid, senior /// prep เหมือนเป็นอีกชนชั้นนึงเพราะในโรงอาหารจะนั่งได้แต่โซนเดียว(ไม่ใช่กฎแต่เป็นธรรมเนียม ซึ่งหลายๆคนก้อมองว่าไร้สาระ) แต่ชั้นปีอื่นๆจะนั่งตรงไหนก็ตามสะดวก
- อากาศหนาว แต่คลาสเรียนส่วนใหญ่จะอยู่ในตึกเดียว ยกเว้นแค่พวกวิทย์ ดังนั้นน้องจะไม่ต้องทนอากาศอันโหดร้ายตอนเปลี่ยนคลาสเหมือนเพื่อนเพรพอื่น
- เด็กมากกว่า 90% เป็นเด็กประจำ ดังนั้นช่วง weekend จะมีคนอยู่เป็นเพื่อนบนแคมปัสเยอะ ช่วงปิดเบรคสั้นๆก็ยังมีคนอยู่
- Senior ที่นี่มีอภิสิทธ์ บางครั้งก็ไม่ต้องจ่ายตังค์เวลาเข้าร่วมกิจกรรม และจะได้ลุกจากห้องประชุมก่อนนักเรียนที่เด็กกว่า สามารถใช้ senior quad (เป็นโซฟาหน้า snack bar), senior grass ได้
- ถึงเราจะไม่ได้ financial aid ของโรงเรียน แต่ด้วยความช่วยเหลือของ college office เราก็สอบโทเฟลฟรี แล้วก็ไม่ต้องจ่ายค่าสมัครมหาวิทยาลัยที่ใช้ common application (อัพเดทปี 59 ปีพี่ๆต้องจ่าย college เอง - -)
- สอบ SAT ในโรงยิมของโรงเรียน นั่งรถประมาณชั่วโมงนึงจากสนามสอบ TOEFL ใน NY
- บัตรนร.ของน้องใช้ตั้งแต่สแกนเปิดประตู ซื้อของในโรงเรียน และใช้เป็น ID ยืนยันตอนสอบ SAT ได้ด้วย
- โรงเรียนให้ยืม MacBook Pro ทั้งปี ทำให้เราไม่ต้องเตรียม laptop มาเอง อัพเดทปี 59 แต่มันเป็น MacPro รุ่นเก่าซึ่งช้า หนักและหน้าจอกาก พี่แนะนำว่าถ้ามีตังก็ซื้อมาใช้เองเถอะครับ 555555
ทำเนียบ Thai Scholars
- TS47 (2004-2005): นธิดา ศิริอภัยพันธ์ (ส้ม/P'Som) ทุนไทยพัฒน์ [McGill University]
- TS48 (2005-2006): ธนธรรศ บำเพ็ญบุญ (แม็ก/P'Max) ทุนเล่าเรียนหลวง [University of Michigan-Ann Arbor]
- TS51 (2008-2009): พรรณชมพู วิสิฐธนวรรธ (ฝ้าย/P'Fai) ทุนไทยพัฒน์ [Swarthmore College → Vanderbilt University]
- TS52 (2009-2010): วรลักษณ์ เกษมุล (อ้อย/P'Oy) ทุนไทยพัฒน์ [Mount Holyoke College]
- TS53 (2010-2011): ชญานนท์ ร่วมเจริญ (บอย/P'Boyd) ทุน พสวท. ดาราศาสตร์ [Swarthmore College]
- TS54 (2011-2012): ธันยพร ภัทรบรรเจิด (อุ้ม/P'Oom) ทุนเล่าเรียนหลวง [Massachusetts Institute of Technology]
- TS55 (2012-2013): มนสิชา ธาดาเดช (ปาโกะ/P'Pako) ทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์ [University of Pennsylvania]
- TS56 (2013-2014): องศา จรรยาประเสริฐ (มุม/P'Moom) ทุนเล่าเรียนหลวง [Stanford University]
- TS57 (2014-2015): อริสา เรืองศิริกูลชัย (ข้าวโพด/P'Kaopohd) ทุนปตท.สผ. [University of Texas at Austin]
- TS58 ไม่มี TS มา
- TS59 (2016-2017): กวิน ติยวัฒนาโรจน์ (ก้อง/P'Gong) ทุนเล่าเรียนหลวง FB: Kawin Tiyawattanaroj ทักได้ครับ5555