The Taft School

จาก TSWiki
The Taft School
The-Taft-School-1.jpeg
ที่อยู่
110 Woodbury Road

Watertown, CT 06795-2100

ข้อมูลทั่วไป
ประเภท College Preparatory School
ตัวนำโชค Red Rhino
เว็บไซต์ www.taftschool.org



IMG00001-20100915-0743.jpg

[[== สำหรับน้อง ๆ TS57: ข้อมูลไม่ได้อัพเดทมาสองสามปีละนะครับ ส่วนใหญ่ยังใช้ได้เดี๋ยวยังไงมีจะมาอัพเดทให้เร็วๆนี้ฮะ : ) - พี่ปอนด์(ตุ่น) 25 ม.ค. 57 ==]]


Taft ​เป็น​โรงเรียนขนาดกลาง​ ​มีนักเรียนประมาณ​ 600 ​คน​ ​ทำ​ให้​ได้​รับข้อดีของ​ทั้ง​โรงเรียนขนาด​ใหญ่​ ​และ​โรงเรียนขนาด​เล็ก​ ​แบบ​ 2 in 1 ​เลยที​เดียว

Location

​โรงเรียนของเรา​อยู่​ Watertown, Connecticut ​ซึ่ง​ก็​จะ​มี​เมือง​เล็กๆ​ ​อยู่​ไม่​ห่าง​จาก​โรงเรียนมาก​ ​เดินประมาณ​สิบนาที​ถึง​ ​ใน​เมืองมันก็​จะ​มีทุกอย่างที่น้อง​ต้อง​การ​ (นอก​จาก​ที่​เที่ยว) ​มีร้านอาหารอิตาลี​ ​จีน​ ​พิซซา​ มีร้านอาหารไทยด้วย แต่แพงและไม่ใช่ของคนไทยจริงๆ ​มี rite aid (ร้านชำ​บ้านเราอะ​ ​พวก​ lotus express) ​เดินไป​ 20 ​นาที​ ​จาก​รร​.​ถึง​ Marshall ​เป็น​ร้านเสื้อถูกมักๆ​ ​แต่ออกแนวคุณป้า​ ​ต้อง​เลือกดีๆ​ ​และ​ก็มี​ supermarket [Adams] ​ให้​ซื้อของกิน และ มี Starbucks, dunkin ด้วย

ถ้าจะไปเมือง Waterbury ​ซึ่งใหญ่กว่าและไม่ไกลมาก ​​​ จะมีรถไปทุก 1 ชม. นั่งรถประมาณครึ่งชม​. ค่ารถ $1 ในเมืองก็​จะ​มี​ mall ​ให้​น้อง​ได้​ผลาญตัง​กัน​หนุกหนาน ​มี​ mall ​ใหญ่​โต​ ​มีทุกอย่าง​ใน​นั้น​อะ​​ ​และ​ walmart(Lotus ​บ้านเรา)นั่งรถไปอีกนิดนึงมีร้านอาหารจีน​ ​อร่อย​ใช้​ได้​ ​เด๋ว​ advisor ​น้องก็คงพา​ไป​ นอกจากนั้นก็จะมีท่ารถ​ซึ่ง​จะ​พาน้องๆ​ไปสู่​โลกภายนอก​

อากาศ ช่วง winter อยู่ประมาณ -10 ถึง 0 องศา (ปีพี่ ​(TS56) หนาวสุดประมาณ​ -15 C) เอาจริง ๆ ก็ไม่ได้สาหัสมากเพราะว่าตึกเรียนอยู่ใกล้กัน คลาสส่วนใหญ่รวมทั้งหอประชุม โรงอาหาร และดอร์มของผู้ชายจะอยู่ใน Main Building ทั้งหมด คลาสเลขวิทย์จะอยู่อีกตึกหนึ่ง ดอร์มผู้หญิงก็จะมีแยก ๆ ออกไปอีกแต่ก็จะกระจุก ๆ อยู่ใกล้ๆกันทำให้ไม่ต้องฝ่าฟันหิมะมากนัก โหดร้ายหน่อยจะเป็น atheletic facilities ที่อยู่บนเนินเขา ต้องเดินไปประมาณ 5 นาที

อ้อ สถานที่​ ​ตึกเรียน​ ​เพื่อนๆ​ ​สวยงามมาก​ ​ใครมาก็บอกว่ารร​.​ เราสวย​ ​อิอิ​ ​อารมณ์​เดียวกะ​ Harvard ​เลย ตึกแดงๆ : )

Academics

เรื่องการเรียนที่นี่ ไม่ยาก ชิวอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งน่าจะแปรตามความตั้งใจในห้องเรียน(ใช้ไม่ได้กับ Cal BC) และการแบ่งเวลาของนักเรียนแต่ละคน พี่ไม่เคยทำการบ้านเสร็จเกินห้าทุ่ม หนักสุดครั้งเดียว วันที่ขี้เกียจเกินพอดี เลยทำเสร็จประมาณตีหนึ่ง ถ้าน้องไม่ลั่ลล้าหลังการบ้านเสร็จเหมือนพี่ ก็นอนเร็วๆได้ทุกวัน ปกติระหว่างวันก็มีคาบว่าง ทำไปบ้างช่วงนั้นก้ได้ ตอนกลางคืนก็จะชิว

Taft ​มีชือ​เรื่อง​ความ​เข้มข้นของวิชาการ​ ​ซึ่ง​จะ​ว่า​ไป​แล้ว​ถ้า​เรื่องเรียนล้วนๆ​ ​(​โดย​เฉพาะสายวิทย์) ​ก็​อยู่​ league ​เดียวกะ​ Choate Rosemary Hall, Phillips Academy และ Phillips Exeter Academy ​เลยที่​เดียว​ Facility ​ของเราก็ดีพร้อมครับ​ ​ทั้ง​ lab ​ชีวะ​ ​เคมี​ ​ฟิสิกส์​ ​เนื่อง​จาก​มีจำ​นวนนักเรียนค่อนข้างมาก​ ​และ​มี​เงินปริ​จาก​สูง​(ปีที่​แล้ว​เฉพาะ​ ​เงิน​จาก​ผู้ปกครองก็​ไปล้านกว่า​เหรียญ​แล้ว​ครับ) ​อีกอย่างคือว่า​ ​หากว่าน้อง​เป็น​เด็กสายวิทย์​ ​แล้ว​เกิดว่า​เก่งจัด​ ​เก๋าจัด​ ​ไม่​พอใจกะคอร์สที่​เปิดสอน​อยู่​(MAX math=multivariable+linear algebra MAX physics=AP physics c) ​ก็​สามารถ​คุยกะครู​แล้ว​เปิดคอร์สเรียนเอง​ ​แบบตัวๆ​ ​หรือ​ว่าจับกลุ่มกะ​เพื่อน​ ​เรียนก็​ได้​นะครับ​ เค้าเรียกว่า ISP [Independent Study Project] ​เช่นว่า​ ​เพื่อนพี่Topทำ​ Quantum Mechanic ​เป็น​ต้น​

AP Calculus BC by Mr. Al Reiff

น่าเบื่อนิดๆ สำหรับคนที่เรียนมาแล้ว ถ้าคิดว่าแน่น calculus พอสมควร ก็ไปเรียน multivariable calculus ได้ พี่รอนานเกิดไป เลยเปลี่ยน course ไม่ได้ แต่เรียนคอร์สนี้ก้ได้ไรใหม่ๆบ้าง เป็นบางครั้ง

AP Physics C by Mr. James Mooney

ไม่ยาก แต่ก็ไม่ simple ขนาดนั้น มีใช้ calculus คำนวน และพิสูจน์สูตร ถ้าไม่ประมาท แล้วก้เก็บ พวก extra credits ได้เยอะๆ ก้ ได้เกิน ร้อย ไม่ยาก

AP Chemistry by Mr. David Hostage

พี่เลือกอาจารย์คนนี้เป็น advisor เอง ฮามาก ตลกดี เป็น Democrat ด้วย ฮ่าๆ อาจารย์เค้าแคร์นักเรียนมาก บรรยากาศจะประมาณว่าไปพร้อมกันทั้งห้องเรียน มาเรียนก็พยายามนั่งแถวหน้าไว้ จะได้ดูดีว่าตั้งใจ ยิ้ม (มีแค่สามแถว) ข้อสอบอ่านไปก้ไม่ยาก ทำ lab report ให้ดี คะแนนก็จะดีเอง

Short Story (Senior English) by Mr. Steve Palmer

พี่ชอบวิชานี้ที่สุด ถึงแม้จะเอกฟิสิกส์ก็ตาม Short Story จะเรียนในหนังสือ The Art of the Short Story ซึ่งจะได้อ่านเรื่องสั้นของนักเขียนดังๆ หลายคน ไม่ว่าจะเป็น Conrad, Hamilton, Joyce, Jack London, Faulkner และอื่นๆ อีกมากมาย วิชานี้ก็จะเป็นแบบว่าให้อ่านวันละเรื่องแล้ว ก็มา discuss กันในห้องเรียน ของพี่ส่วนใหญ่ ก็จะมี American seniors พูดมากอยู่สองสามคน พี่ก็พูดบ้าง ฮ่าๆ อาจารย์คนนี้เก่งมาก เค้าก็จะโยงทุกอย่างมารวมกัน แล้วทำให้เราอึ้งว่าคิดได้ไง อะไรประมาณนั้น บางทีก็จะมี quiz ถามพวก details ในเรื่องเพื่อดูว่าเราอ่านมาจริงมั้ย แล้วก็จะมี in class essay หรือ paper ซึ่งก็น่าสนใจมาก in class essay ส่วนใหญ่พี่ก็เขียนไม่ทัน ในคาบ แต่อาจารย์เค้าก็ไม่ strict บอกว่าส่งหลังคาบ ไรงี้ก็ได้ ก็ไม่ซีเรียส เรียนแล้วสนุกดี ยิ้ม

"อาจารย์อังกฤษที่นี่​เค้า​เข้าใจน้องค่ะ​ ​ว่าน้อง​เป็น​เด็กอินเตอร์​ ​น้อง​สามารถ​ไปขอ​ให้​เค้า​ช่วย​ ​อธิบาย​ให้​เค้าฟัง​ ​ว่า​เรา​ไม่​เข้า​ใจตรงนี้ๆ​ ​อาจารย์​ใจดี​ ​ถึง​แม้ว่า​เกรดมัน​จะ​เทียบกะฝรั่ง​ ​แต่​เอา​เข้า​จิงๆ​ ​เค้าก็​แอบมีลำ​เอียง​ให้​พวก​ ​อินเตอร์บ้างนิดนึง​ ​โดย​เฉพาะ​เด็ก​ใหม่​อะ​ ​เอา​ไปเอามาก็​ได้​เกรดพอๆ​กะ​เม​กัน​อะ​แหละ​ ​ดีกว่า​ด้วย​บางที​ ​เพราะ​ไอพวก​นั้น​มัน​ไม่​อ่านหนังสือ​ ​แต่ที่​จะ​ยากหน่อย​ ​(​และ​ยากมากสำ​หรับพี่) ​คือ​ discussion ​อาจารย์​จะ​คาดหวังว่า​เรา​ต้อง​พูด​และ​แสดง​ความ​เห็น​ ​ถึง​น้อง​จะ​พูด​ไม่​รู้​เรื่อง​ ​เค้าก็​จะ​ตั้งใจฟัง เรื่องการเขียน​ ​ตอนแรกๆ​อาจ​จะ​เขียน​ได้​ห่วยบรม​ ​เค้า​จะ​มี​ writing center ​ช่วย​ดู​เรื่องการเขียน​ให้​ ​ครูพ่ี​แนะนำ​ให้​ไปเหมือน​กัน​ (แสดงว่า​เขียนห่วยมาก​ ​ครูทน​ไม่​ไหว) ​แต่ก็​ไม่​เคย​จะ​ไปเลย​ ​ส่วน​ใหญ่​ให้​เพื่อนสอน​ ​ฮะๆ" (P'Pong)

US History by Ms. Megan Valenti

ก็ตามปกติของ วิชาประวัตศาสตร์ทั่ว ไป การบ้านอ่านวันละสิบหน้ากว่าๆ แต่ต้อง take note ด้วย ซึ่งก็จะช่วยให้เราจำง่ายขึ้น แต่ใช้เวลาเพิ่มขึ้นหน่อย ไม่ยาก เวลาตอบก้ตอบให้ครบ เขียน opinion paragraph ก็ควรจะเป็นการวิเคราะห์ ไม่ใช่สรุป history ของเหตุการณ์นั้นๆ แต่ละเทอมก็จะมี harkness discussion สองครั้ง ก็เตรียมข้อมูลให้ดี แล้วก็พยายามพูดเยอะๆ ก็จะดีเอง

ทางสาย​ history ​ก็​จะ​มีครูดีมากๆ​ ​กะครูห่วยมากๆ​ ​ปน​กัน​ ​ซึ่ง​อันนี้​ ​น้อง​ต้อง​เลือก​ให้​ดี​ ​เกิดว่า​ได้​มา​อยู่​จริงๆ​ ​แล้ว​ถามพี่​ๆได้​ครับ​ ​พี่​เอง(พี่ก่อ)​ได้​ครู​โหด T_T history ​รร​.​เรา​ reading ไม่​หนักมากนะ​ ​อ่านน้อยกว่าหลายๆ​รร​.​เท่า​ที่​ได้​ข่าวมา​ ​นานๆ​ก็มี​ paper ​​ให้​ปั่นทีนึง​ ​มี​ quiz ประมาณ chapter ละครั้ง​ (ขึ้น​อยู่​กะอาจารย์​ด้วย​แหละ​ ​เรียน​ history ​เหมือนกะลูกไก่​ใน​กำ​มืออาจารย์​ ​เค้าชอบก็​ให้​แต้มดี​ ​เค้า​ไม่​ชอบ​ ​คุณก็ซวยไป) ​อาจารย์​จะ​เรียกร้องเรื่อง​ discussion ​history ​เป็น​คลาสที่ค่อนข้างท้าทาย​ ​เพราะ​จะ​มีกิจกรรมจำ​พวก​ debate, class discussion leader, oral presentation, research papers ​อะ​ไรที่มันเรียกร้องมากอ่า​ ​อยู่​ใน​คลาสนี้หมด​และ​ ​แต่ก็ดี​ ​ถ้า​ไม่​เจอเลยก็ไม่​ได้​ฝึก​ ​เพราะ​อังกฤษที่นี่​ (ที่พี่​เรียน) ​ออกแนวอ่าน​แล้ว​ก็​ discuss ​แล้ว​ก็​เขียน​ paper ​ไม่​ค่อยมีอะ​ไรมาก คะแนน SAT Writing พี่ขึ้นเยอะ ส่วนนึงก็เพราะ class history นี่แหละ

Arts

รร​.​เรา​มี​ให้​เลือกน่าทำ​มากมาย​ ​ทั้ง​ drawing, ceramics, singing, dancing, acting, sculpture, computer graphic, maya 3d, 2d, ​และ​ ที่พี่ภูมิใจนำเสนอ glass ครับ น้องจะได้ประดิษฐ์ของตกแต่ง มากมายหลายอย่าง น้องๆผู้หญิงอาจจะได้ต่างหูทำเองไว้ใส่เล่น "คลาส​ art ​เป็น​อะ​ไรที่​เยี่ยมยอดสุด​แล้ว​ ​ถ้า​น้องชอบวาดรูป​ ​อย่าคิดมาก​ ​ลง​ intermediate-advance drawing ​กะ​ Ms.Chic ​ซึ่ง​เป็น​คุณครูที่น่ารัก​ ​และ​ฮาที่สุด​ใน​โลกใบ​ใหญ่​ ​เรียนอาร์ททำ​ให้​ชีวิตพี่ดีขึ้นเยอะมากๆ​ ​นี่​ได้​ไป​ field trip ​ที่​NYC ​มา​...​เจ๋งปะหละ" (P'Pong)

College Counseling

College Counselor ที่นี่มี สามคน ชายสอง หญิงหนึ่ง ขึ้นอยู่กับดวงว่าจะได้ใคร ก็ไปหาเค้าบ่อยๆ อาทิตย์ละครั้งกำลังดี เพราะเค้าต้องเขียน recommendation ให้เรา บางทีก็ฟังหูไว้หู แต่ส่วนใหญ่ พี่บอกอะไร เค้าก็ จะเชื่อ แล้วก้แนะนำเพิ่ม ถ้าได้ผู้หญิง (Ms. Ganung) เวลามีเรื่องอะไรก็พยายามเตือนเค้าบ่อยๆ เหมือนเค้าจะชอบลืม แล้วเวลาสมัครมหาลัย อาจจะไม่ต้องจ่ายตังเพราะ college counselor อาจจะขอ fee waiver ให้ได้ ก็ต้องดูๆ แต่ละมหาลัย แต่ก็อย่าลืมถาม CC ของตัวเอง

Advisor

ตอนที่มาถึง นักเรียนใหม่จะได้ temporary advisor ซึ่ง ปกติก็จะไปคุยด้วยอาทิตย์ละครั้ง หรือมากกว่าตามความสนิท พอผ่านไปสามอาทิตย์ ถ้าเจออาจารย์ในห้องเรียน หรืออาจารย์คนอื่นที่ชอบ ก็สามารถเปลี่ยนคนได้ ก็แค่เดินไปขอเค้า ของพี่ตอนแรกได้ advisor เป็นครู ประวัตศาสตร์แต่เค้าไม่ได้สอนพี่ เลยไปเลือก Mr. Hostage ที่ตลกๆ ตามที่บอกไปแล้ว Advisor ก็จะค่อนข้างสนิทกับเรา บางทีก็กินข้างเที่ยงด้วยกัน มีเรื่องอะไรก็ไปบอกเค้า เค้าก็จะช่วยเราเอง อย่ามีอะไรเครียดแล้วเก็บไว้

Support

ขณะ​เดียว​กัน​ ​ใน​แง่ของ​ support ​จาก​ faculty ​โรงเรียนของเราก็มีชื่อทางด้าน​ความ​ใกล้​ชิดของครู​ ​และ​ ​นักเรียนเป็นอย่างมากเลยครับ​ (อันนี้​จะ​เป็น​ข้อดีที่คล้าย​กับ​โรงเรียนขนาด​เล็ก)​ ​คือว่าครู​ส่วน​มากก็​จะ​อยู่​ใน​โรงเีรียน​ ​หรือ​แถวๆ​ ​โรงเรียน​ ​แล้ว​ก็มี​ extra hour ​สำ​หรับนักเรียนที่สงสัย​ ​มีคำ​ถาม​ ​หรือ​อยากรุ้อยากเห็น​ ​ก็​สามารถ​มาถาม​ได้​ ​ตัวอย่างเช่น​ ​ครู​เลขพี่​ ​เค้า​อยู่​สองทุ่ม​ถึง​สามทุ่มอาทิตย์ละประมาณ​ 5 ​วัน​!!!(โอ้​โห​ ​อาทิตย์นึงมันมี​เจ็ดวัน​ไม่​ใช่​เร้ออออ) ​พี่ก็​ไปหา​เค้าบ้าง​ ​นานๆ​ ​ที​(พี่คิดว่า​ถ้า​เกิดว่าน้อง​จะ​ลงคอร์สโหดๆ​ ​มากๆ​ ​อันนี้อาจ​จะ​เป็น​สิ่งที่ดีมากของน้องเลยที​เดียว) ก่อนสอบเค้าก็จะจัด review session ให้น้องสามารถถามได้จนน้องเบื่อไปเอง แต่จริงๆแล้วคอร์สมัน​ไม่​โหดขนาด​นั้น​หรอก​ ​ถ้า​น้องเรียนพอประมาน​ ​แบบพี่​ ​พี่ลง​ BC & Physics C ​ธรรมดา​เหมือนคน​อื่น​ทั่ว​ไป​ ​จะ​ว่ายากไหม​ ​มันก็​ไม่​ยากมากนะ​ ​แต่น้อง​ถ้า​อยากเร้า​ใจ​ ​จะ​ลง​ multi or linear algebra ​ก็​ได้​ ​ซึ่ง​บางรร​.​อาจ​จะ​ไม่​มีคอร์ส​ advance math ​แบบนี้

Clubs

นอก​จาก​นี้​ยัง​มี​ clubs ​ต่างๆ​น่าสนใจ​ ​เช่นพี่ทอปเค้า​ไป​เป็น​นักเต้น​ ​ขา​แดนซ์​ ​ก็ประสบการณ์​แปลก​ใหม่​ไปอีกแบบนะ​ มี international club ซึ่งมี feed แสนอร่อยเป็นประจำ มี​ hydrox ​เป็น​คณะร้องเพลงประสานเสียง​ ​มี​ a capella ​ด้วย​ (ของผู้ชายชื่อ oriocos)หรือถ้าน้องลงคลับ United Cultural at Taft (UCT) ก็จะมีมีทติ้งนานๆครั้ง และถ้าโรงเรียนได้รับเชิญไป interschool dance เขาจะแจ้งข่าวสมาชิกคลับให้ลงชื่อก่อน น้องก็จะได้ไปเจอเพื่อน เช่น Choate

Transportation

การเดินทางไปที่ต่างๆ ทาฟก็จัดว่าอยู่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ได้ป่า เหมือนหลายๆโรงเรียน เช่น Hotchkiss อยู่ห่างจากนิวยอร์กประมาณสองชั่วโมง แต่ละเบรก ไม่ว่าจะเป็น fall long weekend สี่วัน, thanksgiving break 10 วัน ถ้าน้องจะไปหาใครที่ไหน โดย เฉพาะ นิวยอร์ก โรงเรียนก็จะจ้างรถไปส่งให้ ก็เสียเงินนิดหน่อย แต่ก็ทำให้สะดวก ไม่ยาก การสอบ SAT ทาฟ ก็เป็นศูนย์สอบ เป็นบางเดือนเช่น October, November and January ก้สบายไม่ต้องเดินทาง แต่เดือน ธันวา ซึ่ง Taft จะไม่ได้เป็น ก็ให้น้องเลือก Watertown High School ซึ่งอยู่ห่างไปแค่ นั่งรถห้านาที ตอนแรกนึกว่าจะไม่ดี แต่โรงเรียนนี้สวยมาก เหมาะกับการทำข้อสอบอย่างยิ่ง ยิ้ม ส่วนสอบ TOEFL น้องก็ลองดูของพี่ๆปีก่อน เพราะพี่ไม่ได้สอบตอนอยู่ที่นี่เลย

Banking

Watertown จะมี Wells Fargo Bank ในโรงเรียนก็มี ATM ของ Wells Fargo ถ้ามาแล้วเปิดบัญชีของธนาคารนี้ก็จะสะดวก ตอนต้น ๆ ปีจะมีจนท.ของธนาคารมารับเปิดบัญชีที่โรงเรียน ก็เดินเข้าไปคุยได้เลย สะดวกดี ใครที่ทำบัญชี Citizen Bank ที่ Brewster ไว้ แนะนำให้ปิดก่อนมาเพรพนะครับ นอกจากนี้ ในโรงเรียนก็จะมี account ให้น้องไว้เก็บตังค์ เวลาน้องซื้อของที่ book store ของโรงเรียน ​(เรียก book store แต่ขายพวกขนม ของชำ เสื้อกันหนาว รองเท้าแตะ บลาๆ) ก็สั่งให้เค้าคิดเงินจาก account ได้ เวลาขอ transportation ของโรงเรียนตามเบรกต่าง ๆ เค้าก็จะแอบชาร์จจาก account ของเราเช่นกัน

Daily Life

ตารางเรียนปกติของทาฟ เรียนวันจันทร์ถึงเสาร์ เริ่มคาบแรก เจ็ดโมงสี่สิบ บางวันคาบแรกจะว่าง ก็ได้นอนยาว วันอังคาร พุธพฤหัส และเสาร์ จะมี school meeting ตอน 10 โมงถึง ประมาณ สิบโมงยี่สิบ แล้วก็จะเรียนเสร็จประมาณ อย่างมาก ก็ 3.20 pm หลังจากนั้นก็จะเป็นเวลาเล่นกีฬา

ตอนสองทุ่มถึงสี่ทุ่มทุกวันก็จะมี study hall time ซึ่งก็ใช้ทำการบ้าน ของ senior ก้ไม่ซีเรียส sign out ไปกินขนม เล่น pool ปิงปอง ไรงี้ได้ แต่ก็พยายามทำการบ้านให้เสร็จ

Sports

กีฬาที่ทาฟจะแบ่งเป็นสามเทอม (การเรียนแบ่งเป็นสองเทอม semester)

  • fall sport: football(American), Voleyball, Soccer, Cross Country, Field Hockey, Riding, Tennis และอื่น
  • winter sport: Ice Hockey, Squash, Wrestling, Basketball, Skate, Yoga, Aerobics, skiing, etc.
  • spring sport: Baseball, Tennis, Track, Lacrosse, Golf, Crew, Softball

กีฬาที่ Prep School ก็จะแบ่งเป็นระดับๆตามความโปร ตั้งแต่ Varsity, Junior Varsity, Third จนถึง intramural ซึ่งจะไม่ได้แข่งกับโรงเรียนอื่น เล่นขำๆ ถ้าไม่อยากเล่นกีฬา ก็สามารถทำอย่างอื่นได้ เช่น drama, computer graphic, volunteering หรือ project ที่เราอยากทำเอง

Laundry

จริงที่นี่มีบริการซักผ้าครับแต่ว่าต้องจ่ายเงินเอง พี่ไม่รู้ราคาเหมือนกัน แต่ยังไงก็แนะนำให้ซักเองเพราะสะดวกพอสมควร เครื่องซักและเครื่องอบอย่างละ $1.25 รวมทั้งสองอย่างก็เป็น $2.50 การจ่ายเงินต้องใช้ laundry card ซื้อได้ที่ book store (อยู่ชั้นใต้ดิน) น้องที่ถามว่าจะรีดยังไง บอกได้เลยครับว่าไม่ต้องรีด ผ้าที่ออกมาจากเครื่องอบจะไม่ค่อยยับมาก ขนาดเสื้อเชิ้ตผู้ชายที่ยับง่าย ๆ ก็ใส่ได้ไม่มีปัญหาครับ : ) ส่วนถ้าใครอยากรีดจริง ๆ พี่ไม่เคยเห็นเตารีดในหอพักชาย หอหญิงเดี๋ยวจะถามมาให้นะครับ

Dress Code

นักเรียนชายมี Dress Code แต่จริงๆ แล้วก็เป็นแค่ ใส่เสื้อคอปก ถ้ามีกระดุมตรงกลาง ก็ต้องใส่ในกางเกง แต่ถ้าเป็นพวกโปโล ก็ใส่นอกกางเกงได้ กางเกงต้องไม่ใช่ยีน ส่วนใหญ่ เค้าใส่ Slack สี่เนื้อ หรือน้ำตาล จริงๆ ก็ยังไงก็ได้ รองเท้าก็ ต้องไม่ใช่ sneakers ดูให้เหมาะสมก็โอเค ของผู้หญิง ไม่เคยอ่านกฏของเค้า แต่เหมือนจะใส่ไงก็ได้ให้เหมาะ สม ไม่ใส่กระโปรงหรือ กางเกงที่สั้นมากๆ ก็น่าจะโอเค

Food

อาหารที่นี่จัดได้ว่าดีที่สุดใน NEW ENGLAND เทียบกับ Prep School ทั้งมวล Chef ที่นี่ไปแข่งทำอาหารมา มีเหรียญทองเป็นการันตี ความอร่อย อาหารก็มีให้เลือกจำนวนมากทั้ง ซีเรียล พิซซ่าทุกวัน main course สลัดบาร์ Frozen Yogurt คุกกี้ แซนวิชบาร์ เยลลี่ และอาหารพิเศษอีกมากมาย นานๆ ทีจะมีอาหารที่กินไม่ค่อยได้ แต่โดยรวม อร่อยมาก จิงๆ มาที่นี่ไม่ต้องห่วงเรื่องอาหารการกินแน่นอน เรื่องอาหารนี้ต้องซีเรียสหน่อย เพราะมันดีมากจริงๆ เหมือนที่พี่หวายปีที่แล้วให้ข้อสังเกตว่า "Bowdoin ที่ว่าอาหารอร่อยที่สุดใน American College, according to Princeton review ทำpizzaได้ไม่อร่อยเท่า Taft นะจ๊า"

Dining Hall ที่นี่หรู ด้วยห้องอาหารขนาดใหญ่ ประดับผนังไปด้วยไม้(สัก) หรืออะไรทำนองนั้น มีด้วยกันสามห้อง ทำให้สามารถเลือกนั่งกิน เปลี่ยนบรรยากาศไปได้ตามสบาย บางห้องยังมีมุมส่วนตัว เป็นคอกๆ ให้อีกด้วย แต่ละอาทิตย์ก็จะมี ประเพณี SIT DOWN DINNER วันอังคารและวันพฤหัส ซึ่งนักเรียนทั้งโรงเรียนจะมานั่งกินข้าวเย็นร่วมกัน แบ่งเป็นโต๊ะๆ ละประมาณ สิบคน สับเปลี่ยนไปเรื่อย ทำให้ได้คุยและรู้จักคนกว้างขวางขึ้น SIT DOWN DINNER นักเรียนชายก็ต้องใส่ shirt necktie แล้วก็ Blazer ซึ่งก็ทำให้ได้แต่งตัวแลดูดีอาทิตย์ละสองครั้ง ส่วนผู้หญิงก็ใส่ dress แต่งตัวกันสะบัดเลย

Gifts from Older Taftees

สำหรับน้องๆที่จะมา พี่ๆ รุ่นก่อนๆ ก็จะทิ้งของไว้ให้ จำนวนมาก ตอนนี้มีอยู่สามกล่อง กับ พรมม้วนใหญ่ๆ หนึ่งม้วน หนังสือ ส่วนใหญ่ จะเป็น SAT, Toefl, text ที่ใช้เรียน AP Chem, Cal และ US History, Text Physics for engineering และอื่นๆ อีกมากมาย

ทำเนียบ Thai Scholars

  • TS47 (2004-2005): วราสิณี ฉายแสงมงคล (จ๋า/P'Jah) ทุนไทยพัฒน์ [Cornell University → Yale University]
  • TS48 (2005-2006): สิริภัทร สุมนาพันธุ์ (กุ๊ก/P'Kook) ทุนไทยพัฒน์ [California Institute of Technology → Stanford University], กรพงศ์ พงศ์มรกต (ท็อป/P'Top) ทุนไทยพัฒน์ [Stanford University]
  • TS49 (2006-2007): ปองกานต์ จักรธรานนท์ (ปอง/P'Pong) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [Northwestern University → Stanford University]
  • TS50 (2007-2008): ธนชาติ นิละนนท์ (ก่อ/P'Gor) ทุน พสวท. [Carnegie Mellon University → University of North Carolina-Chapel Hill], ณัฐนรี ศิริวรรณ (พลอย/P'Ploy) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [California Institute of Technology → University of Southern California]
  • TS51 (2008-2009): นัทธมน ถาวรพิทักษ์ (ยุ้ย/P'Yui) ทุนบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด [Carnegie Mellon University]
  • TS52 (2009-2010): วรัชรี ศรีฟ้า (หวาย/P'Wai) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [Bowdoin College]

References