ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Tabor Academy"
(→อาหารและแหล่งของกิน) |
|||
แถว 114: | แถว 114: | ||
[[ภาพ:food1.jpg]] [[ภาพ:food2.jpg]] [[ภาพ:food3.jpg]] | [[ภาพ:food1.jpg]] [[ภาพ:food2.jpg]] [[ภาพ:food3.jpg]] | ||
+ | |||
[[ภาพ:food4.jpg]] [[ภาพ:food5.jpg]] [[ภาพ:food6.jpg]] | [[ภาพ:food4.jpg]] [[ภาพ:food5.jpg]] [[ภาพ:food6.jpg]] | ||
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 21:10, 10 กุมภาพันธ์ 2560
Tabor Academy | |
ที่อยู่ | |
---|---|
66 Spring Street Marion, MA 02738 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
วันสถาปนา | 1876 |
ผู้ก่อตั้ง | Elizabeth Taber |
ประเภท | College Preparatory School |
เว็บไซต์ | www.taboracademy.org |
Tabor Academy หรือโรงเรียนท่าบ่อ เป็นโรงเรียน college preparation ในมลรัฐ Massachusetts ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าว Buzzard ที่เมือง Marion ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐซึ่งอยู่ใกล้กับแหลม Cape cod ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่มีทิวทัศน์ติดทะเลและมีบรรยากาศอันแสนโรแมนติกอย่างสุดลึกซึ้ง อุดมไปด้วยอาหารทะเลที่ทั้งสดและอร่อยรวมไปถึงตำนานการแข่งเรือใบและเรือโจรสลัด Tabor Boy อันเลื่องชื่อ นอกจากนี้ Tabor Academy เป็นโรงเรียนที่เหมาะกับพวกมีคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เป็นลมหายใจ เนื่องจากหลักสูตรที่มีความซาดิสต์ผสมกลมกล่อม พร้อมที่จะให้ Thai Scholars ออกกำลังกายสมองอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญที่สุด โรงเรียนนี้ไม่มีข้อเสียเลยแม้แต่ข้อเดียว ซึ่ง Thai Scholars พยายามหาแล้ว แต่มันไม่มีจริงๆ
เนื้อหา
ความจริงของโรงเรียนท่าบ่อ (2016-2017)
0. Some videos: Welcome to Tabor Why Tabor Visit Tabor Tabor Has
1. มาวันแรกๆ (ช่วง international orientation) จะมี global partners มาประกบ กันงงกับการใช้ชีวิตที่นี่ เขาจะพาทัวโรงเรียน มีอะไรก็ถามเขาได้ [TS59: Global Partner ที่นี่ดีมากเลย เขาจะช่วยน้องจัดการกับชีวิตทุกอย่างเริ่มตั้งแต่ช่วยหาของเข้า dorm และในช่วง international orientation ก็จะมี Target trip ดังนั้นไม่ต้องขนทุกอย่าง Brewster เปลืองแรงเปล่าๆ]
2. อาจารย์คุยได้เข้าใจเด็ก มี office hours ไว้เผื่อตามเนื้อหาไม่ทัน (ปกติจะไปตอนมีงานเขียนใหญ่ๆ ไปคุยกะเขาก่อนต้องส่ง ยกระดับเกรด) [TS59 : ใช่ อันนี้จริงโดยเฉพาะคลาสอังกฤษกลับประวัติศาสตร์ ไปคุยกับเขาบ่อยๆ บอกปัญหาและจุดที่อย่างพัฒนา รับรองว่าเกรดสวยงาม เชื่อเพ่]
3. จะมีวันนึงตอน sep ที่เขาจับคู่ให้ american student แล้วไปกิน dinner กะครอบครัวเขา ก็จะทำความรู้จัก แล้วก็กลายเป็น host family ให้เราได้ [TS59 : แต่นี่ไม่ใช่ Host family ระวังเข้าใจผิดเพราะพี่โดนมาแล้ว Host dinner คือคนที่พาเราไป American dinner ส่วน Host family เป็นคนที่เราไปอยู่ด้วยระหว่าง Thanksgiving break ให้ดูดีๆ ทางที่ดีคุยกับ Mr.Downes ที่เป็น international director เอาไว้เนิ่นๆ]
4. อาหารดี มี stir fry ประมาณวันเว้นวัน มี pizza,soft serve เกือบทุกวัน ของทะเลสดเพราะติดทะเล ทำแซนวิชกินเองได้อะไรได้ [TS59 : Stir fly อร่อย กินกับสปาเก็ตตี้คลุกพริก อร่อยอย่างแรงเลย ซึ่งก็มี Stir fly วันจันทร์ อังคาร และพฤหัส วันอื่นก็มีอาหารอินเดีย แต่ที่แน่ๆ seafood 4วัน/สัปดาห์ ใครเซี่ยนอาหารทะเล กุ้ง หอย ปู ปลา มาเลยพี่น้อง! รับรองไม่พลาดแน่นอน]
5. มีทริปไป target กะ providence/boston ทุกอาทิตย์ [TS59: Target trip=Wareharm Crossing ซึ่งจะต้องรีบ sign up หลัง chapel วันพฤหัสของทุกอาทิตย์ วิ่งไป sign up กันทุกอาทิตย์ ใครดีใครได้]
6. เดินไป Dunkin Doughnut (แบบถ้าไปตอนเย็นลดเหลือลูกละ 0.25 ดอลนะเออ) มาร์ท Cumbies (คล้ายๆ เซเว่นบ้านเรา) ร้านอาหารไทย ได้ตามใจอยาก (ถ้าสนิทกะอาจารย์บางคน (Hartell/DaSilva) เขาอาจจะพาไปร้านอาหารไทยที่อร่อยกว่าได้) [TS59 : Clitantro นี่อร่อยสุดๆละนะ เดิน 10 นาทีถึง พี่สนิทกับเจ้าของ 555]
7. order อาหารจีน เกาหลี พิซซ่า มาก็ได้ถ้าขี้เกียจเดินไป dhall [TS 59: มีร้านอาหารไทยชื่อ Cilantro ซึ่งรสชาติให้เขาปรุงแบบคนไทยได้ แนะนำกะเพราะทะเล ข้าวผัด ต้มข่าไก่ ผัดไทยคลุกพริก อร่อยมั้ย ตอบไงดี สำหรับพี่ สัสๆ หร่อยชิบหาย ไปลอง!]
8. เป็นสนามสอบ SAT สามเดือน: oct nov dec เป็นสนามสอบ TOEFL ลับ (จัดสอบเฉพาะบางวัน และสมัครได้แค่เด็ก Tabor ทำให้คนสอบไม่เยอะ, สอบฟรี 1 ครั้ง)
9. เรียนแบบ semester และปีพี่ไม่มีการสอบ midterm มันถูกเปลี่ยนเป็น major assignment แทน (จำพวก paper, project ซึ่งข้อดีคือถามอาจารย์ได้ ไม่เหมือนนั่งทำข้อสอบที่ถามไม่ได้ / แต่วิชาเลขกะวิทก็เป็นการสอบอยู่ดี) [TS59 : เหมือนมีฟิสิกส์อย่างเดียวมั้งที่มี final assessment]
10. อยู่ติดทะเล (จริงๆคือมหาสมุทร, สวยวิวดี) เป็นโรงเรียนที่ดีถ้าอยากเล่น sailing/canoeing/crew [TS59 : อันนี้จริง ถูกใจสายโรแมนติกแน่นอน แต่ sailing ที่นี่เล่นกันโหดนะ เหนื่อยเลยแหละ มา Tabor ไม่เล่น sailing ก็เหมือนไม่ได้มา แต่สำคัญมากคือต้องสอบ swim test ให้ผ่าน ที่ยากคือมันว่ายในมหาสมุทรไงครับ แต่พี่ก็สอบผ่าน 5555 เออ โรงเรียนเราไม่มีสระว่ายน้ำนะ มีแต่ทะเลและมหาสมุทร อยากว่ายไปหา partner ไปโดดลงทะเลเลย 555]
11. โรงเรียนเน้นคติ second chance เช่นผิดครั้งแรกจะไม่เปนปัญหาเท่าไรถ้าไม่ใช่เรื่องรุนแรงแบบยาเสพติดหรือ sex
12. ด้วยความเป็น second chance school ทำให้ first year senior เล่นกีฬาได้ทุกอย่าง (โรงเรียนส่วนมากจะอนุญาตให้ senior เล่นได้แค่ระดับ varsity ซึ่งโคดยาก อย่างบาสแม่งก็เหมือนเล่นกันจะไป NBA)
13. มี Fee Waiver สำหรับ Common App (ประหยัดเยอะมากกกก 555) [TS59 : ไม่มี Fee waiver สำหรับ Uncommon app พวก UC UT น่ะ ไม่มี จ่ายเองนะครับเพ่]
14. Uncle John (Student Center) ชื่อเดิมชื่อ Beebee มีโต๊ะ pool ไว้แทงเล่นกะเพื่อนๆ เกมละ $1 กะขายอาหารพวกฟาสฟู้ด, กาแฟ, ขนมปัง เผื่ออยากกิน [TS59 : เบเกอรี่อร่อย แต่ค่อนข้างแพงนะ]
15. มี Chapel ที่ต้องเข้าอาทิตย์ละสองครั้ง แต่มันเหมือนเป็นเวลาผ่อนคลายมากกว่า เวลาเข้ามันจะมีร้องเพลงนิดหน่อย แล้วก็มีคนมาพูดปลุก motivation/inspiration ในตัวคุณ
16. seniors ไม่มี light out แต่ถ้ามีรูมเมท ก็อาจจะมี [TS59: พี่อยู่ดอร์ม FOCSLE single in double room ชีวิตเลยดีขั้นสุด]
17. เนตตัดเวลา 11:30pm ติดอีกทีเวลา 6:00am แล้วยกเว้นคืนสวรรค์วันศุกร์กับเสาร์
18. มีเรียนวันเสาร์บ้าง ประมานสองสามอาทิตย์ครั้ง
19. ไม่ต้องซื้อ textbooks เอง โรงเรียนจัดหาให้ [TS59 : Diff Equa กับหนังสือสำหรับ English Elective ต้องซื้อ Text เองนะ หา used book ใน Amazon เอาไม่แพงหรอก ไม่น่าเกินเล่มละ 15 ดอล]
20. มีคลาสเลขที่ค่อนข้างโหดให้เลือกเรียน (Multivariable calculus/Linear algebra/ Differential Equation/ Probability Theory) ทำให้เนื้อหาไม่ซ้ำกะที่เคยเรียนมาจากไทย (Cal AB/BC ก็มีให้ลงเช่นกัน) [TS59 : เลขที่เรียนใน Tabor นี่มันส์มากเลย ดูข้างล่างได้ว่าเรียนอะไรกันบ้าง]
21. คนจะรุจัก Thai Scholars เพราะรุ่นก่อนๆ ทำผลงานไว้โหด
22. ช่วง Longweekend (เป็นวันหยุดสั้นๆ ของเทอมเล็ก ประมาณ 4-5 วัน) สามารถอยู่ที่ รร ได้
23. ไม่มี Breakfast checkin สำหรับ senior
24. ตอน Fall Semester มีกีฬาให้เลือกเป็น instructional program คือให้ลองกีฬา 3 อย่าง (อย่างละ 3 อาทิตย์) ก็ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ ไม่เครียด
25. มี community service ทุกอาทิตย์ (ไม่บังคับ แต่ต้องเก็บให้ได้อย่างต่ำ 20 points/semester)
26. ที่โรงเรียน Tabor มีคนไทยอยู่ประมาณ 4-7 คนซึ่งคนพวกนี้ก็ nice มากๆ เลย มีอะไรก็ไประบายได้
27. ที่มี Lunch 2block นะต้องดูตารางดีๆ เขาไม่อยากให้เด็กล้นโรงอาหาร
28. มี Art studio และ Hoyt hall(music practice) ให้ไปแก้เครียดได้
29. มี dorm checkin ตอนสองทุ่ม ก็มาจัดห้องให้เรียบน้อย สำหรับ senior ไม่มี study hall จะอยู่ห้องก็ได้ ไป Acadamic building หรือ Beebe ก็ได้แต่ต้อง Sealog โดย Sealog ก็แค่ Text message ผ่านระบบ บอก destination และเวลาก็จบแล้ว เวลากลับมาก็ Text คำว่า Back ง่ายๆแบบนี้เลย แต่ก็จำเป็นจะต้องใช้โทรศัพท์มือถือละ ไปหาบริการเอาตอนไป Target trip แนะนำ AT&T
30. checkin face-to-face วันเสาร์ 5.00-6.30 และวันอาทิตย์ 13.00น.
31. พี่มีชีทสรุปและข้อสอบเก่าวิชา Multivariable Calculus / Differential Equation / Linear Algebra / Probability Theory/ AP Chemistry/ Adv.Phys ให้ ไม่ต้องห่วง ตั้งใจอย่างเดียว
ประวัติศาสตร์
Tabor Academy. (n.d.). Retrieved January 27, 2017, from http://www.aisne.org/tabor-academy/
ก่อตั้งโดย Mrs. Elizabeth Tabor ในปี 1876
Mrs. Elizabeth Tabor เกิดที่เมือง Marion, Massachusetts (สถานที่ตั้งโรงเรียน)
ขณะที่ครอบครับ Tabor ได้ย้ายไปอยู่ที่ New Bedford ลูก 3 คนของเธอตายตั้งแต่วัยทารก รวมทั้งสามีของเธอ Stephen Tabor ได้ตายภายหลังจาก Civil War
Mrs. Tabor จึงอาศัยอยู่คนเดียว และภายหลังต้องการทำประโยชน์จึงกลับไปยังเมือง Marion และเป็นส่วนในการช่วยสร้างสวนสาธารณะ ห้องสมุด Music Hall และโรงเรียน Tabor Academy
เธอตั้งชื่อโรงเรียน โดยให้สอดคล้องกับชื่อของเธอ และชื่อภูเขา Mt.Tabor ใน Holy Land
บุคคลสำคัญใน Tabor
Mr.Steves Downes เขาเป็น international director ที่คอยดูแลเด็กนานาชาติ และจะคอนดูแลเรื่อง Host family, transportation และ passport ให้เรา ซึ่ง Mr.Downes เป็นคนที่ใจดีมากๆและเขาน่าจะเริ่มติดต่อกับน้องๆ ตอนเดือนพฤษภาคม เพื่อถามข้อมูลเรา ตอนอยู่ Brewster เขาจะมาเยี่ยมและซื้ออาหารไทยมาให้ทาน (ซึ่งนั่นคือสวรรค์ของคนที่อดอยากอาหารไทยมา 3 เดือนนน) หากมีปัญหาหรือธุระที่จะต้องออกไปนอก Bank เช่นไปปิด citizen bank และไปเปิด Bank of America (ซึ่งแนะนำ) หรือขอให้ไปรับส่งที่ New Bedford Bus terminal เพื่อเดินทางไป Winter program at Kemsley Academy ก็ไปบอก Mr.Downes เขาจะขับรถพาเราไปทำธุระให้
Ms.Eileen Marceau เขาเป็น Dean of Study และเป็น Advisor ของพี่ด้วย ซึ่งคนนี้จะเป็นคนดูแลเราในด้านตารางเรียน คอร์ส เกรด และอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับ Acadamic ซึ่งเราจะได้เจอเขาประจำตอน All school meeting และ Advisor meeting เป็นอีกคนที่ช่วยเหลือ Thai Scholars มากๆ และถ้าหากมีปัญหาอยาก drop หรือลงคอร์สเพิ่ม เช่น independent study ก็ไปบอกเขา ที่ดีอย่างหนึ่งคือถ้า อาจารย์ ELS กับ college counselor ไม่ว่างพร้อมกันก็เดินเข้าไปหาให้เขาช่วยได้เลย เขาเซียนระดับจบมาจาก Harvard เลยนะเอออ
Mr.Tim Cheney เป็น Director of college counseling และเป็น college counselor ของพี่ เขาเป็นคนมาใหม่แต่ไฟแรงเว่อร์ เป็น CC ที่ active มากที่สุดคนหนึ่งเลย (แบบมีปัญหาตอนสี่ทุ่มยังติดต่อได้เลย) และการนัดประชุมกับเขาได้เท่าที่เราต้องการ (ปกติประมาณ 2 อาทิตย์/ครั้ง) แต่ถ้าอยากรู้อะไรเป็นพิเศษก็ walk in เข้าไปเลย ถ้าเขาว่างเขาก็จะคุยกับเราได้ (พี่ได้คุยกับ CC ตลอดโดยไม่ต้องกังวลว่าคิวจะเยอะ เพราะการจัดตาราง CC ที่ Tabor Professional มาก) ต้องการ revise application และ essay ก็คนนี้แหละที่เป็นคนช่วยเราได้ดีที่สุดคนหนึ่ง
Mr.Stephen Watt เป็นอาจารย์ในคลาส ELS ซึ่งเป็น class ที่ชิวๆ และเป็นคลาส pass/fail สำหรับพี่มันมีประโยชน์มากๆ เพราะนัดพบแค่ 2 ครั้ง/สัปดาห์ คือ class meeting เพื่อฝึกแกรมม่าและการอ่าน และ one-on-one meeting ที่เอา paper จาก English และ US History รวมถึง college essay ไปให้เขาช่วยแก้ได้ (ซึ่งมีประโยชน์อย่างสูงสุด เขาเป็นทำให้พี่เหลือแค่ 2 app ก่อนไป Kemsley คิดดูว่าโหดสัสขนาดไหน) อีกอย่าง เขาเซียนภาษาเยอรมันมากและเรื่อง revise paper นี่คนนี้ระดับตำนานใน Tabor เลย
Mr.Paul White เป็นครูเลขในตำนานของ Tabor เป็นถึงดอกเตอร์ที่จบเลขสายตรงมาจาก Oxford University ระดับความเซียนนี่ไม่ต้องพูดถึง และเขาก็เป็นเจ้าของคอร์สเลข 4 จตุรเทพ (multi/prob theory/diff equa และ linear) มายาวนานถึง 40 ปี เขาเตรียมการสอนดีมากและตั้งใจสอนสุดๆ เป็นครูเลขที่ดีสุดและเซียนที่สุดเท่าที่พี่เคยเห็นมาในชีวิตเลยนะ ข่าวร้ายคือปีนี้เขาจะ retire แล้วป่ะะะะ TT คงต้องหาคนอื่นมาสืบทอด 5555
อาหารและแหล่งของกิน
Johnson dining hall เป็นโรงอาหารของโรงเรียน ซึ่งอาหารถูกใจขาซีฟู้ดแน่ๆ ใครอยากกินอาหารทะเลละก็ โรงเรียนนี้นี่ตำนานสัสๆ มีเสิร์ฟประมาณ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ (หรืออาจจะมากกว่านี้) เพราะตลาดของทะเลอยู่ไม่เกิน 10 นาที ที่สำคัญมี stir fly 3 ครั้งต่อสัปดาห์และมีพริกและซอสปรุงได้ตามใจชอบ วัน M/T/R/F เปิด 6.45-7.45 / 11.20-13.30 / 17.00-19.00 วัน W/S เปิด 7.00-8.30 / 11.20-13.30 / 17.00-19.00 และวันอาทิตย์มี Brunch ช่วงวันเรียนตอนเที่ยงคนจะเยอะ ทำให้พี่มีแผนตารางการกินชั้นเซียน (พี่รู้หมดว่าเมนูวันไหน แม่งวันไหน มีไรบ้าง คนอื่นไม่ได้แดกกูแน่นอน หรือ ถ้าวันไหนไม่หรอยกูเผ่นไป Cilantro ฮ่าฮ่าฮ่า)
Cilantro เป็นร้านอาหารไทยที่อยู่ตรง Route 6 เป็นร้านอาหารไทยที่อร่อยสัสๆๆๆๆๆ (อร่อยที่สุดเท่าที่เคยกินมาในอเมริกาแล้ว) ราคาก็ประมาณ 15-25 ดอลต่อมื้อตามค่าครองชีพในรัฐ Massachusett เจ้าของร้านเป็นคนไทยและใจดี พี่สนิทกับเข้าอยู่ เมนูแนะนำคือ ผัดกะเพรา(หมู/ไก่/ทะเล) ต้มยำกุ้ง ต้มข่าไก่ ผัดไทย ซึ่งกะเพรานี่มันระดับเซียนเลย เขามีบริการส่งอาหารไทยเข้า Tabor campus ด้วยเพราะเด็กสั่งบ่อยและเข้ารู้ทุก dorm แต่ส่วนใหญ่พี่ก็เดินไปกิน ไม่ไกล ประมาณ 10 นาที ก็ถึง แต่ต้องขอ permission โดย Sea log ก่อนนะ มา Tabor นี่อย่าพลาด Cilantro เชียว เหมือนชีวิตขาดรสชาติ ฮ่าฮ่าฮ่า
สิ่งอำนวยความสะดวก Facility
ซักรีด Laundry
1. ซักเอง มีเครื่องซักผ้าและเครื่องอบแห้งให้บริเวณข้างใต้ Chapel จำนวนอย่างละ 10 เครื่อง (สามารถเพิ่มเวลาได้) แต่ไม่มีเตารีดให้ [ตั้งแต่รุ่น 59 Tabor Academy เปลี่ยนนโยบายเป็นซักและอบฟรี ไปซื้อแค่ detergent กับ sheet มาก็พอ]
2. ใช้บริการ E&R ซึ่งจะมารับผ้าไปซักรีดให้ สะดวกกว่าแต่เสียค่าใช้จ่ายมากกว่า
Gym-Fitness
Sport&Art ตามฤดูกาล
เทคโนโลยี
โทรศัพท์
(ปัจจุบันไม่มีแล้ว)
[ข้อมูลเก่า] มีโทรศัพท์ส่วนตัวให้ใช้ภายในดอร์ม สามารถโทรเข้า-ออกได้ แต่ต้องเสียค่าโทรศัพท์และค่าบริการรายปีให้โรงเรียน (โทรภายในไม่เสียเงิน)
ในช่วง Study Hall และหลัง 5 ทุ่ม จะไม่สามารถรับสายได้ แต่สามารถฝากข้อความได้
อินเตอร์เน็ต
มีอินเตอร์เน็ตภายในดอร์ม และระบบ Wireless ในอาคารเรียนและห้องสมุด แต่เสียค่าบริการรายปีให้โรงเรียน
อินเตอร์เน็ตตัดหลัง 5 ทุ่ม 30 นาที, บล๊อก BitTorrent และ FTP แต่สามารถหลีกเลี่ยงโดยใช้โปรแกรมช่วยได้
อินเตอร์เน็ตความเร็วเฉลี่ย 5-20M (Local) (2556)
คอมพิวเตอร์-ปรินเตอร์-เน็ตเวิร์ค
- ปัจจุบันเปลี่ยนระบบปรินเตอร์เป็นการส่งเมลล์ไปที่ printing@taboracademy.org แล้วค่อยเอาบัตรนักเรียนไปแตะที่ปรินเตออันไหนก้ได้
มีห้องคอมพิวเตอร์พร้อม Printer ให้ใน Study Area (Academic Building), ห้องสมุด และ Printer laser สีใน International Center แต่ไม่สามารถสั่ง print จากดอร์มได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องนำไปลงทะเบียนเน็ตเวิร์คกับโรงเรียน และโรงเรียนจะลง anti-spy/virus ให้ (แต่จริงๆ ไม่จำเป็น เพราะพบว่าไม่ต้องไปลงทะเบียนก็ใช้งานได้ปกติ)
วิชาการ
ทางโรงเรียนได้เปิดวิชาเรียนมากมายแก่นักเรียน และมีความเข้มข้นทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พอสมควร
การลงวิชาเรียน
นักเรียนทุนรัฐบาลไทยจะได้รับการติดต่อจากทางโรงเรียนก่อนเดินทางมาสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการลงวิชาเรียน สำหรับโรงเรียนเทเบอร์นั้นจะแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 8 คาบ (รวมคาบว่าง) วิชาของโรงเรียนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ Major (วิชาเต็ม, 1 หน่วยกิต) และ Minor (วิชาสบายๆ เช่น ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น, 0.5 หน่วยกิต) โดยทั่วไปแล้ว นักเรียนโรงเรียนนี้จะลง 5 Majors/5 Majors+1 Minor/6 Majors แต่สำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลไทยแล้ว ทางโรงเรียนจะวางแผนการลงวิชาเรียนดังนี้
กรณีวิชาบังคับ
- English 3-4 (อันที่จริงนักเรียนชั้นปี senior จะต้องลง English 4 หรือ AP Literature) แต่โดยส่วนมากทางโรงเรียนแนะนำให้ลงวิชานี้ ทาง รร จะจัดครอสนี้ให้ตามคะแนน TOEFL ที่เราได้ตอนจบ Brewster
- US History (อัพเกรดเป็น AP US History ได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะเรียนยาก+เสียเวลา) เป็นวิชาบังคับจบของโรงเรียน เนื่องจากเรามาเรียนปีเดียว ดังนั้นเราต้องเรียน
- English Language Support (Minor) เป็นวิชาที่นักเรียนทุนรัฐบาลไทยถูกบังคับให้เรียน ถึงแม้นักเรียนผู้นั้นจะไม่มีปัญหาภาษาอังกฤษมากก็ตาม คลาสนี้จะให้รวมกลุ่มกันเรียนทักษะภาษาอังกฤษทั่วไปอาทิตย์ละครั้ง ส่วนอีก 4 วันจะเป็นประชุม 1:1 กับอาจารย์ เค้าจะช่วยดูเรื่องงานเขียนเราพวก UShis, English, college essay ให้ มีประโยชน์มากๆ
กรณีวิชาเสรี
- คณิตศาสตร์
- วิทยาศาสตร์
- วิชาใน History Department อื่นๆ เช่น AP Economics
- ศิลปะ (Minor) เช่น วาดรูป เซรามิกส์
- ดนตรี (Minor) มีเกือบทุกรูปแบบ
ในกรณีวิชาเสรี เราควรลงประมาณ 3 ตัว (หรือ 3 Majors + 1 Minor) นอกจากนี้ ทางโรงเรียนบังคับลงคณิตศาสตร์ แต่ไม่บังคับลงวิทยาศาสตร์ ดังนั้นกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้คือการลงวิชาคณิตศาสตร์ 2 ตัว และวิชาอื่นๆ อีก 1 ตัว อันที่จริง เนื่องจากวิทยาศาสตร์โรงเรียนนี้เปิดสูงสุดถึงระดับ AP ซึ่งนักเรียนจากโรงเรียนบางโรงเรียนในไทย (เตรียมอุดมศึกษาและมหิดลวิทยานุสรณ์) จะเคยเรียนเนื้อหาภายในมาแล้วเป็นส่วนใหญ่ (ดังใน AP Chemistry และ AP Physics B) ทำให้อาจเกิดความเบื่อหน่ายจากการเรียนซ้ำได้ จึงขอแนะนำให้พิจารณา AP Physics C หรือ AP Biology แทน (จะทำให้ transcript ดูดีขึ้นหากอยากลงวิทยาศาสตร์)
ระบบเกรด
ทางโรงเรียนใช้ Numeric Scale กล่าวคือ 0-99 (ไม่มี 100 เพราะโรงเรียนเชื่อว่าไม่มีมนุษย์ใดสมบูรณ์แบบได้) นอกจากนี้ยังได้เทียบเป็นระบบ 4.00/ABCDF ดังนี้
- 90-99 = 4.00 (A)
- 87-89 = 3.67 (B+), 83-86 = 3.33 (B), 80-82 = 3.00 (B-), ... เป็นลำดับถัดไป
ความยากง่ายของเกรด
สำหรับโรงเรียนเทเบอร์ ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์นั้น เนื่องจากเป็นการเรียนโดยวัดผลจากการสอบเป็นส่วนใหญ่ (ทำถูกได้คะแนน ทำผิดเสียคะแนน) จึงทำให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสที่จะทำเกรดเกิน 90 ถึงระดับสูงสุด 99 ได้ไม่ยากมาก (สำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลไทย เนื่องจากมีพื้นฐานที่ดีมาก่อนหน้านี้แล้ว) ส่วนวิชา English นั้น ที่ผ่านมาในรอบสองปี (2013-2014) ไม่มีผู้ได้ได้คะแนน English 3 สูงกว่า 94 (นั่นคือไม่มีผู้ใดได้ A+) นอกจากนี้วิชา US History ยังเป็นวิชาหินของนักเรียนทุนรัฐบาลไทย เนื่องจากไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์อเมริกาเหมือนเด็กอเมริกันมาก่อน ทำให้โอกาสทำเกรดสูงกว่า 90 มีไม่มากนัก (แต่ก็มีโอกาสและต้องขยันอ่านจริงๆ ซึ่งจะเสียเวลาพอสมควร) สรุปคือวิชาในหมวด English และ History จะกดค่าเฉลี่ยระดับคะแนนลง แต่วิชาในหมวดคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จะดึงคะแนนขึ้น
ตารางเรียนรายวัน
คณิตศาสตร์
นอกจากคอร์สทั่วไปแล้ว โรงเรียนเทเบอร์ได้เปิดคอร์สระดับ AP และ POST-AP ดังนี้
- AP Statistics
- AP Calculus AB/BC
- Multivariable Calculus
- Linear Algebra
- Differential Equations
- Probability Theory (เป็นคอร์สที่สนุก ท้าทาย และเปิดอยู่ไม่กี่โรงเรียน แนะนำให้ใครที่พอมีพื้นฐานแคลคูลัสลง)
POST-AP Multivariable Calculus (แคลคูลัสหลายตัวแปร) by Mr. Paul White
ความยากจะประมาณ calculus 3 ที่เรียนในปีสองภาคคณิตศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในเมืองไทย ซึ่งเนื้อหาก็จะเป็นการวิเคราะห์ทางแคลคูลัสของฟังก์ชันที่ซับซ้อนกว่า single variable calculus มีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะน้องที่สนใจทางด้าน engineering, geophysics, physics, economics หรือ applied mathematics น่าจะต้องมีความรู้ทางด้าน infinite series, taylor serires และ polar coordinate analysis มาบ้างจึงจะทำให้สามารถเรียนได้อย่างราบรื่น การเรียนจะเป็นแบบ lecture และจะมี problem set ตามหนังสือ textbook มาให้ทำ ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ได้บังคับให้ส่ง (เป็น optional) แต่การฝึกฝนก็จะทำให้การสอบเก็บคะแนนราบรื่น
- ภาคเรียน เป็นคอร์ส half-year เปิดเฉพาะ fall-semester
- วิธีการประเมินผล ใช้การสอบเก็บคะแนนรายบท (chapter) และมีการสอบย่อย (quiz) ไม่มีการสอบ midterm และการสอบ final แต่อย่างใด
- Textbook Calculus : Multivariable (Anton 9th edition) Chapter 11-15
September : (CH 11-12) Fundamental definition of vector, dot product, cross product, vector parametrization, 3D- space analysis, plane, vector-valued function, unit vector, tangent vector, normal vector, arc length, curvature
October : (CH13) Contour curve, partial derivative, chain rule, tree diagram, directional derivatives, high-order partial derivative, gradient, tangent plane, maximum-minimum problem, Lagrange method
November : (CH14) double integral, parameter adjustment, surface area, polar integration, triple integral, cylindrical and spherical integration, Jacobean transformation
December - January (CH15) : vector field, line integral, conservative vector field, Green’s theorem, surface integral, flux integral, Divergence theorem, Strokes’ theorem
คนที่เรียน AP Calculus BC จบแล้ว (มีอีกคอร์สที่เป็นพื้นฐานคือ AP Calculus BC) นักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดม มหิดลวิทย์ และโรงเรียนที่เรียนหลักสูตรแคลคูลัสเข้มข้นมาก่อน สสวท. คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ทุกท่าน
POST-AP Probability Theory (ทฤษฎีความน่าจะเป็น) by Mr. Paul White
เป็นคอร์สสำหรับแฟนคณิตศาสตร์ตัวจริง และทำให้การเรียนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนอเมริกันเป็นอะไรที่สนุก ท้าทาย และน่าจดจำ เหมือนเดิม น้องๆ ที่สนใจทางด้าน engineering, geophysics, physics, economics หรือ applied mathematics โดยเฉพาะนัก stat ทั้งหลาย ไม่ควรพลาดคอร์สนี้ ผู้ใดชื่นชอบเกมในบ่อน Casino และอยากรู้ว่าเล่นยังไงไม่ให้แพ้เจ้ามือ ก็คอร์สนี้นี่แหละจะสอนทุกศาสตร์แห่งความน่าจะเป็นที่คุณควรรู้ ความมันส์ก็ไม่ได้แพ้เนื้อหาเลขในค่ายฟิสิกส์โอลิมปิกแต่อย่างใด แน่นอนว่าผู้ที่จะลงควรจะมีความรู้พื้นฐานเรื่อง infinite series, taylor serires, combinatorics, graphing, complex number, diffrential equation (แบบง่ายๆ) และ multivariable caluclus มาบ้าง (ตรงนี้ไม่ต้องกังวล หลักสูตร Mr.White น่ะเซียนมากขอบอก เรียน multiple integral กับ parial derivative เสร็จก็เอามาใช้ได้ทันที) การเรียนจะเป็นแบบ lecture และจะมี problem set ตามหนังสือ textbook มาให้ทำ ซึ่งตรงนี้ก็ไม่ได้บังคับให้ส่ง (เป็น optional) แต่การฝึกฝนก็จะทำให้การสอบเก็บคะแนนราบรื่น
- ภาคเรียน เป็นคอร์ส full-year (สามารถ take concurrently พร้อมกับ Multivariable calculus ได้)
- วิธีการประเมินผล ใช้การสอบเก็บคะแนนรายบท (chapter) และมีการสอบย่อย (quiz) ไม่มีการสอบ midterm และการสอบ final แต่อย่างใด
- Textbook Fundamentals of Probability (Saeed 2th edition) Chapter 1-11 + special topic
September : (CH 1-2) Sample space and event, basic theorem, set theory, counting principle, tree diagram, permutation, combination, Stirling’s formula
October : (CH3-4) Conditional probability, Law of Multiplication, Law of Total Probability, Bayes’ formula, Independence, random variable, distribution function (pdf), probability mass function (pmf) discrete random variable, expected value, variance
November : (CH5-6) special discrete distribution (Bernoulli, Binomial, Poisson, Negative binomial, geometric, hypergeometric), continuous distribution, probability density function (pdf), method of transformation, expected value, variance
December : (Special handout) generating function, probability generating function (pgf)
January : (CH7) Special continuos distribution (uniform, normal, exponential. gamma and beta) >> ซึ่งมันส์มากเพราะทุกอย่างในจักรวาลแห่งแคลคูลัสจะมายำกันเละ มันส์สาสสสสสสส ขอบอก
คนที่เรียน Multivariable calculus จบแล้ว (แต่โดย general TS ก็ลงพร้อมกันกับ probability theory ได้ ไม่มีปัญหา) นักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดม มหิดลวิทย์ และโรงเรียนที่เรียนหลักสูตรแคลคูลัสเข้มข้นมาก่อน ผู้คลั่งอนุกรมอนันต์ นักพนัน พวกชอบเสี่ยงดวง พวกเด็กเลข และเซียนฟิสิกส์ทุกท่าน(ซึ่งสิ่งที่ ดร.วุทธิพันธ์(หรือป๋า) สอนในค่ายจะไม่ทำให้ท่านผิดหวังอย่างแน่นอน)
POST-AP Differential Equation (สมการเชิงอนุพันธ์) by Mr. Paul White
เป็นภาคต่อจาก Multivariable calculus หรือ calculus BC ซึ่งก็จะเปิดในช่วงเทอม 2 (spring term) ความยากก็จะเป็นเนื้อหา cal4 เมืองไทย ซึ่งน้องจะได้เจอกับเทคนิคการแก้ diff equa ในหลากหลายรูปแบบ คอร์สนี้จะเน้นการนำไปประยุกต์ในปัญหาฟิสิกส์ วิศวกรรมและคอมพิวเตอร์ ด้วย ดังนั้นสายคำนวณไม่ควรพลาด และคอร์สนี้มีสอนเกี่ยวกับ numerical method และ computatiobal graphic calcultation ก็จะสนุกไปอีกแบบ สำหรับคนที่มีพื้นฐาน diff equa มาบ้างแล้ว คอร์สนี้อาจจะง่ายไปบ้างนะ (ซึ่งแน่นอนว่าค่อนข้างง่ายกว่า multi ในเทอม fall เลย) แต่เรียนค่อนข้างคลุมเนื่อหาทั้งหมด (เรียนตั้งแต่ first order ยัน Lapalce transform เลยอ่ะ) ซึ่งก็ดีไปอีกแบบ คะแนนก็มาจากการสอบอย่างเดียว (สไตล์ Mr.White) ซึ่งก็ควรทบทวนและอย่าสะเพร่าก็พอ (เพราะมันหลอกเยอะมากกกก)
- ภาคเรียน เป็นคอร์ส half-year เปิดเฉพาะ spring-semester
- วิธีการประเมินผล ใช้การสอบเก็บคะแนนรายบท (chapter) และมีการสอบย่อย (quiz) ไม่มีการสอบ midterm และการสอบ final แต่อย่างใด
Textbook Differential Equation Computing & Modeling (Edward 4th edition) Chapter 1-7
January : (CH 1) First order differential equation (linear,exact,homogenous,Bernoulli)
คนที่เรียน Multivariable calculus หรือ AP Calculus BC จบแล้ว นักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดม มหิดลวิทย์ และโรงเรียนที่เรียนหลักสูตรแคลคูลัสเข้มข้นมาก่อน สสวท. คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ทุกท่าน
POST-AP Linear Algebra (พีชคณิตเชิงเส้น) by Mr. Paul White
จริงๆ ปกติคอร์สนี้ปิดตายไปหลายปีแล้ว แต่พี่ไปขอเขาเปิดและทำเป็น independent study ครับผมมม เพื่อความสนุกสนานในเทอม spring พีชคณิตเชิงเส้นก็มีประโยชน์โดยเฉพาะสายพวก computer science และ theoritical physics (เอาไปใช้กับ diff equa ได้ด้วยนะขอบอก) เกรดจะเป็น Pass/fail แต่ก็ยังมีสอบ (ตามสไตล์ Mr.White เหมือนเดิม) เรียน linear algebar เหมือนเรียนภาษาใหม่ภาษาหนึ่ง เพราะจะมีคำศัพท์แปลกๆ เข้ามาเยอะ ซึ่งจะต้องใช้เวลาทำความเข้าใจโดยถ่องแท้พอสมควร ยังไงก็ตามเรียนคอร์สนี้ก็จะสนองความคลั่งเลขของใครบางคน (รวมถึงพี่ด้วย 5555) คิดดู Tabor มีเลขให้ take ตั้งสี่ตัว 4 ตัว muti/diff equa/inear/prob theory ซึ่งก็สนุกและมันสัสๆ ใครสนใจก็จัดเหมือนพี่เลย pack 4 เอาให้บ้าตายกันไปข้าง
- ภาคเรียน เป็นคอร์ส half-year เปิดเฉพาะ spring-semester
- วิธีการประเมินผล ใช้การสอบเก็บคะแนนรายบท (chapter) และมีการสอบย่อย (quiz) ไม่มีการสอบ midterm และการสอบ final แต่อย่างใด
- Textbook Elementary Linear Algebra (Anton 4th edition) Chapter 1-8
January : 1) Systems of Linear Equations 2) Matrices and determinant 3) Vector in 2-Space and 3-Space
February : 4) Euclidean Vector Spaces 5) General Vector Space
April : 6) Inner Product 7) Eigenvalues/Eigenvectors
May : 8) Linear Transformation
- เหมาะสำหรับ อยากเรียนก็เรียน อย่างมันส์ก็จัดเลยเฟ้ยยยยย
วิทยาศาสตร์
นอกจากคอร์สทั่วไปแล้ว โรงเรียนเทเบอร์ได้เปิดคอร์สระดับ AP และ POST-AP ดังนี้
- AP Chemistry
- AP Physics C
- AP Biology
- POST-AP Organic Chemistry (ยังไม่เปิดสอน)
- POST-AP Advanced Topics in Physics
POST-AP Advanced Topics in Physics (ฟิสิกส์ขั้นสูง) by Mr. David Pierce
น้องอาจจะเคยได้ยินว่า ในระบบการเรียนแบบอเมริกันจะมีการสอบ AP หรือ Advanced placement exam ซึ่งในส่วนของวิชาฟิสิกส์ก็จะมีให้เลือกระหว่าง Mechanics กับ electromagnetics ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดมีอยู่ในคอร์ส AP Physics C ดังนั้นคอร์สนี้จึงไม่ใช่คอร์สเตรียมสอบ AP Physics แต่อย่างใด ซึ่งที่จะเจอในคอร์สคือทุกอย่างที่นอกเหนือจาก AP (ซึ่งได้แก่ Fluid mechanics, wave, thermodynanics, optics และ modern physics) เนื้อหาเป็นฟิสิกส์แบบมหาวิทยาลัยปี 1-2 ซึ่งไม่ยากเกินไปสำหรับนักเรียนโอลิมปิกหรือนักเรียนมหิดลวิทย์ คอร์สนี้จะไม่มีแลปแบบ AP Physics ทำให้เรียนแค่ 3 คาบต่อสัปดาห์ และการสอนจะเน้นการพิสูจน์เชิงทฤษฎีและการทำโจทย์เป็นหลัก สามารถหา paper หรือ topic ที่น่าสนใจมา discuss กับอาจารย์ในห้องได้ ก็จะทำให้เป็นคลาสฟิสิกส์ที่สนุกและท้าทายคอร์สหนึ่งในโรงเรียนอเมริกัน อย่างไรก็ตาม Tabor Academy เป็นไม่กี่โรงเรียนที่เปิด POST-AP Science และก็เปิดปีพี่เป็นปีแรก (โชคดีมาก 5555) ก็ภาวนาให้ปีน้องเปิดได้ละกัน
- ภาคเรียน เป็นคอร์ส full-year (เปิดเป็นบางปีเท่านั้น ถ้าไม่มีก็ลง AP Physics C)
- วิธีการประเมินผล ใช้การสอบเก็บคะแนนรายบท (chapter) และมีการสอบย่อย (quiz) คลาสนี้มีการสอบปลายภาค หรือที่เรียกว่า Final assessment
Textbook Physics for Scientists and Engineers with Modern Physics (Giancoli 4th edition) Chapter 13,15-20, 32-35, 37-44
September : (CH 13,15-17) Fluid statics, Fluid mechanics, Bernoulli equation, viscosity, wave function, wave equation, superposition, interference, intensity, sound wave, Bulk modulus
October : (CH18-20) 0th, 1st, 2nd laws of thermodynamics, PV-diagram, equation of state, thermal conduction, thermal radiation, Carnot engine, efficiency, Maxwell-Boltzman distribution, statistical mechanics, entropy, phase diagram
November : (CH 32-35) Fermat’s principle, nature of light, geometrical optics, telescope, reflection, refraction, physical optics, interference, diffraction, double slit, single slit, thin film
December - January : (CH 37) Planck black body radiation, atomic model, duality of wave and particle, Compton scattering, pair production, Bohr’s atom, Balmer’s series, De Broglie wavelength
January (CH 38-39) : Quantum mechanics, Heisenberg uncertainty principle, infinite&finite tunneling effect, atomic theory, quantum number, Zeeman’s effect
คนที่เรียน AP Calculus BC จบแล้ว (มีอีกคอร์สที่เป็นพื้นฐานคือ AP Calculus BC) มีพื้นฐาน Differential Equation หรือสมการเชิงอนุพันธ์มาบ้าง นักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดม มหิดลวิทย์ และโรงเรียนที่เรียนหลักสูตรแคลคูลัสเข้มข้นมาก่อน สอวน และสสวท. ฟิสิกส์ทุกท่าน
AP Chemistry (เคมี) by Mr. Kurk Wick
น้องอาจจะเคยได้ยินว่า ในระบบการเรียนแบบอเมริกันจะมีการสอบ AP หรือ Advanced placement exam ซึ่งในส่วนของวิชาเคมี Tabor Academy ก็มีคอร์ส AP Chemistry ซึ่งเรียนแล้วก็จะบังคับสอบ AP Chem ช่วง May ของทุกปี รูปแบบการเรียนจะมีทั้ง lecture และ lab และบางครั้งก็มี hand-on material มาให้เล่นด้วย ซึ่งข้อสอบจะออกตามที่อาจารย์สอนในห้อง และไม่ควรขาดเรียนเพราะจะมีสอบค่อนข้างถี่ แต่ยังไงก็ตาม รุ่นพี่ก็มีข้อสอบเก่าและแลปให้น้องดูเป็นต้นแบบ การบ้านก็ไม่ยากจนเกินไป แต่ก็ไม่ควรจะทำผิดเพราะจะทำให้เสียคะแนน และควรตั้งใจเขียน lab report ทุกครั้ง อุปกรณ์และห้องแลปสวยและวิวดี โรแมนติกมากเป็นพิเศษในช่วง Fall และ spring (เป็นความดีงามของโรงเรียน) เนื้อหาที่เรียนค่อนข้างกว้างแต่นำไปใช้ได้จริงคล้ายเคมีระดับมหาวิทยาลัย (ไม่รวมเคมีอินทรีย์)
- ภาคเรียน เป็นคอร์ส full-year
- วิธีการประเมินผล ใช้การสอบเก็บคะแนนรายบท (chapter) และมีการสอบย่อย (quiz) ไม่มีการสอบ midterm และการสอบ final แต่อย่างใด
- Textbook Chemistry (Zumdahl 4th edition)
September : ปริมาณสารสัมพันธ์/ ปฏิกิริยาเคมี
October - November : แก๊ส ของเหลว และ ของแข็ง / เทอร์โมไดนามิกส์
December - January : โครงสร้างอะตอม / แนวโน้มตารางธาตุ / พันธะเคมี
February : อัตราการเกิดปฏิกิริยเคมี / สมดุลเคมี
March - April : กรด-เบส / ไฟฟ้าเคมี
คนที่เรียนที่ major ทางด้าน Chemistry/ Chemical engineering มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และเคมี ม.ปลาย ทั่วไป สสวท เคมีลองไปขอเขาเปิด POST-AP Organic Chemistry ดูนะ
Humanities
English 4 [elective] by Ms.Kristein Reidmold & Mr. Christopher White
คอร์สอังกฤษที่ Tabor ค่อนข้างดีและสนุกเลยทีเดียว ซึ่งอังกฤษที่นี่จะเป็น elective ซึ่งส่วนใหญ่เขาก็เลือกให้ TS แล้วเพราะต้องจัดตารางเวลาให้ไม่ตรงกับคอร์สเลขและวิทย์ขั้นสูงทั้งหลาย เทอมแรกพี่เรียนเกี่ยวกับ shame กับ empathy ซึ่งก็จะมีให้ดู TED talk และอธิบายทฤษฎีทาง psychology ซึ่งจะนำไปใช้วิเคราะห์ในหนังสือใน catagory ที่จะอ่าน สำหรับเทอมแรกพี่อ่านแค่ 2 เล่มเอง (เห็นความชิวมาแต่ไกล) ซึ่งเฉลี่ยก็จะอ่านวันละ 20-25 หน้า (บางวันก็ไม่ถึง) บางครั้งก็จะมี quiz เกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่อ่านซึ่งก็ควรทำให้ดี เพราะ quiz นี่สำคัยพอๆ กับ essay เลย การให้คะแนนขึ้นอยู่กับความใจดีของอาจารย์ (เทอมแรก Ms.Reidmold โคตรใจดี พี่ได้ 98 อ่ะ ทั้งๆที่พี่ก็ไม่ได้เก่งอังกฤษอะไรมากมาย 555) ส่วนเทอมสองพี่เรียนเป็นคอร์ส film คืออ่านหนังสือแล้วดูหนังตาม ซึ่งเป็นหนังยุค 1960 โดยมี Mr.White (อีก white) เป็นคนสอน เขามีแฟนเป็นคนไทยชื่อพี่อิ๋วอยู่มี่ร้านขายของใน acadamic building ซึ่งเขาก็พูดไทยได้(จริงๆ) โหดป่ะล่ะ สำหรับครูอังกฤษ ถ้าอยากให้ช่วยเรื่องการเขียน การอ่านหรือคุยกับเข้าเพื่อระบายความเครียดในเทอม fall ก็ทำได้ Faculty ในภาคอังกฤษที่ Tabor ก็ nice จริงๆ แหละ ลองดู น้องๆ น่าจะชอบอยู่
U.S. History (ประวัติศาสตร์อเมริกัน) by Mr. Gary Sousa
ประวัติศาสตร์อเมริกันที่ Tabor จะให้นักเรียนไปอ่านส่วนที่เป็น content เองและจะนำเนื่อหาที่เรียนและอภิปรายกันในห้องมา discuss การบ้านก็จะมีให้อ่านใน openstax (10 หน้าต่อวันเอง) อ่าน primary source หรือไม่ดูวีดีโอเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน Mr.Sousa เคยทำงานกับ international student มาก่อนและรู้จัก Thai Scholar เป็นอย่างดี (เขารัก TS มากนะขอบอกเลย พี่สัมผัสได้!) ที่สำคัญ เขาให้ความสำคัญกับการเขียน paper และ research มากเพราะคะแนนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์มาจากงานเขียนหมดเลย (ทำให้ไม่ต้องพูดมากในห้องก็ได้ พี่ก็คะแนนดี แม้จะพูดไม่ค่อยเก่ง แต่รักหมดใจ 5555) ซึ่งงานเขียนก็เอาไปปรึกษากับอาจารย์ ELS ก็ได้ ก็จะทำให้เนื้องานดูดีขึ้น อาจารย์ใน History wing ค่อนข้างให้ความสำคัญในด้านพัฒนาการ ซึ่งถ้าเราแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจจริง แบบถึงเป็นอยากจะเป็น engineer แต่ก็มีความอยากรู้ (กระเหี้ยนกระหือรือใคร่รู้) ในประวัติศาสตร์บ้านเมืองเขา ก็จะทำให้เขาเป็นคนหนึ่งที่พร้อมจะเขียน recommendation ดีๆให้กับเรา พี่ไม่ได้ชอบประวัติศาสตร์มากนะ แต่คอร์สนี้ สนุก บ่องตง
ทำเนียบ Thai Scholars
- TS13: ผศ. ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ ทุนเล่าเรียนหลวง [Massachusetts Institute of Technology → Stanford University → University of Chicago]
- TS16: เลอสรร ธนสุกาญจน์ ทุนเล่าเรียนหลวง [Harvard College → Harvard University]
- TS31: ธีระชัย พรสินศิริรักษ์ (นิค) [California Institute of Technology → Stanford University → California Institute of Technology]
- TS40: แทนไท ประเสริฐกุล (แทน) ทุน พสวท. ชีววิทยา [Cornell University]
- TS43 (2000-2001): ภควา เจียสกุล (อ้น) ทุนเล่าเรียนหลวง [Williams College], ภิญญ์ ศิรประภาศิริ ทุนเล่าเรียนหลวง [Brown University → Oxford University]
- TS45 (2002-2003): สรรเสริญ เจียมอนันท์กุล (เต้ย/P'Toey) [Carnegie Mellon University → University of California-San Diego]
- TS46 (2003-2004): นพงศ์ รักขพันธุ์ (ตาว/P'Tao) ทุนเล่าเรียนหลวง [Brown University → University College London → University of Michigan-Ann Arbor]
- TS47 (2004-2005): อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ (เต้/P'Te) ทุนไทยพัฒน์ [Stanford University → Princeton University → Brandeis University]
- TS48 (2005-2006): กันตภณ แก้วทิพย์ (จอม/P'Jom) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [Brown University → University of California-Los Angeles], วุฒิชัย จงจิตเมตต์ (ท็อป/P'Top) ทุน พสวท. คณิตศาสตร์ [Duke University → University of California-Los Angeles]
- TS49 (2006-2007): ศุภศรณ์ สุวจนกรณ์ (เอก/P'Aek) ทุน พสวท. คอมพิวเตอร์ [Cornell University → University of Washington], คุลิกา ชมวงศ์ (ไผ่/P'Pi) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [University of Pennsylvania → University of California-Berkeley]
- TS50 (2007-2008): วิชินพงศ์ สินชัยศรี (ปาร์ค/P'Park) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [Brown University → Massachusetts Institute of Technology], สินีนาฎ มะปรางทอง (เซธ/P'Seth) ทุนไทยพัฒน์ [Concordia University]
- TS51 (2008-2009): สราลี พฤกษะริตานนท์ (สาม/P'Sam) ทุนบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด [University of Virginia], วาที ศรีนิล (กราฟ/P'Graph) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [University of Chicago → New York University]
- TS52 (2009-2010): ภูมิรัตน์ นวรัตน์ (ดิว/P'Dew) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [Middlebury College], นันทวัฒน์ อุดมชาติพิทักษ์ (นัน/P'Nan) ทุน พสวท. คณิตศาสตร์ [Brown University → University of California-San Diego]
- TS53 (2010-2011): วีรภัทร คิ้ววงศ์งาม (นุ้ย/P'Nui) ทุน พสวท. ชีววิทยา [Massachusetts Institute of Technology]
- TS54 (2011-2012): บุญสิตา กิตติคุณ (บีม/P'Beam) ทุนไทยพัฒน์ [Middlebury College]
- TS55 (2012-2013): ธีรวัจน์ พุทธิศักดิ์แสง (เอิร์ธ/P'Earth) ทุน พสวท. คณิตศาสตร์ [Rennselaer Polytechnic Institute]
- TS56 (2013-2014): ปวรุตม์ เสมอวงษ์ (บิ้ก/P'Bigg) ทุนกองทัพเรือ [United States Coast Guard Academy], วีรชัย นีรนาทวงศ์ (จูเนียร์/P'Junior) ทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์ [Massachusetts Institute of Technology]
- TS57 (2014-2015): ทศพร แสงจ้า (ตรี/Tree) ทุน พสวท. คอมพิวเตอร์ [Massachusetts Institute of Technology]
- TS58 (2015-2016): นิพัทธา วงศ์วิเศษ (มะปราง/P'Maprang) ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [University of Virginia]
- TS59 (2016-2017): กิตติพงศ์ ลิ่มชูเชื้อ (เอก/Mr.X) ทุน ปตท.สผ.