ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Worcester Academy"
(→ชุมนุมและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์) |
(→Senior project) |
||
แถว 89: | แถว 89: | ||
ส่วนกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่จะมาเรื่อย ๆ ครับ รอดูว่ามีอะไรน่าทำ น่าสน มีประโยชน์ ก็เลือกทำเอา พยายามทำให้เสร็จเร็ว ๆ ครับ จะได้เอาไปเขียนในใบสมัครมหาวิทยาลัยได้ด้วย และไม่ต้องมีห่วงกังวลว่าไม่ครบเงื่อนไขการจบครับ ของพี่ที่ทำก็มี วิ่งรณรงค์รักษามะเร็ง กับถักนิตติ้งให้ครอบครัวในย่านคนจน (อันนี้น่ารักไปหน่อย แต่ก็สบาย ไม่ต้องคิดมาก ฟังเพลงไป พักผ่อนด้วย) | ส่วนกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่จะมาเรื่อย ๆ ครับ รอดูว่ามีอะไรน่าทำ น่าสน มีประโยชน์ ก็เลือกทำเอา พยายามทำให้เสร็จเร็ว ๆ ครับ จะได้เอาไปเขียนในใบสมัครมหาวิทยาลัยได้ด้วย และไม่ต้องมีห่วงกังวลว่าไม่ครบเงื่อนไขการจบครับ ของพี่ที่ทำก็มี วิ่งรณรงค์รักษามะเร็ง กับถักนิตติ้งให้ครอบครัวในย่านคนจน (อันนี้น่ารักไปหน่อย แต่ก็สบาย ไม่ต้องคิดมาก ฟังเพลงไป พักผ่อนด้วย) | ||
− | ==Senior project== | + | ===Senior project=== |
==สิ่งอำนวยความสะดวก== | ==สิ่งอำนวยความสะดวก== |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 19:13, 26 เมษายน 2550
วูสเตอร์ อคาเดมี (Worcester Academy) เป็นโรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐแมสซาชูเซตส์ ที่มีอายุเกือบสองร้อยปี แม้ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก และไม่มีอะไรน่าสนใจมากนัก แต่ก็เป็นโรงเรียนที่น้องต้องมาเรียนอยู่ดี ดังนั้น ทำใจครับ 555 (กะว่าจะเขียนเครียด ๆ นะเนี่ย) สำหรับรูปโรงเรียน คาดว่าจะนำมาลงในไม่ช้านี้ ใครมีอะไรสงสัย หาทางติดต่อพี่เอาให้ได้แล้วกัน อีเมล์ครับ ที ดับเบิ้ลยู เค _7@hotmail.com ครับ
เนื้อหา
ข้อมูลทั่วไป
Worcester Academy ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1834 ณ เมือง Worcester, Massachusetts จัดว่าเป็นโรงเรียนที่มีขนาดเล็กมาก (เดินรอบโรงเรียนได้ภายในสิบนาที) โรงเรียนเป็นแบบสหศึกษา มีสามเทอม (เรียกว่า trimester system) มีนักเรียนทั้งแบบไปกลับ และแบบกินนอน
คำขวัญโรงเรียนคือ Achieve the Honorable มีสัตว์ประจำโรงเรียนคือ hilltoppers กับ rams (พี่อยู่จนจะจบอยู่แล้ว ยังไม่รู้เลยว่าไอ้สองตัวนี้มันคือตัวอะไรกันแน่) สีประจำโรงเรียนคือ สีเลือด (maroon) กับสีดำ (black ครับ)
ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ในเขตเมือง (urban) แต่ว่าเป็นเขตเมืองที่ไม่มีอะไรเลย อย่างไรก็ตาม โรงเรียนของเราสามารถไปถึงเมืองบอสตันได้สะดวกสบาย ทั้งรถเมล์ และรถไฟ เดินทางประมาณหนึ่งชั่วโมงกว่า ๆ
นักเรียนทุนชาติไทย ณ Worcester Academy
ปี พ.ศ. 2546 พี่แบงก์ ทุน พสวท. ปัจจุบันศึกษาด้าน Computer Science ณ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University)
ปี พ.ศ. 2547 พี่สนุกเกอร์ ทุน พสวท. ปัจจุบันศึกษาด้าน Physics, Mathematics และ พี่โอ้ต ทุน พสวท. ปัจจุบันศึกษาด้าน Physics ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ (MIT, Massachsetts Institute of Technology)
ปี พ.ศ. 2548 พี่ปาล์ม ทุนกองทัพอากาศ ปัจจุบันศึกษาด้าน Landscape Architecture ณ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมสซาชูเชตส์วิทยาเขตแอมเฮิร์ซ (UMass-Amherst, University of Massachusetts, Amherst)
ปี พ.ศ. 2549 พี่ตี๋ ทุน พสวท. ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ วูสเตอร์ อคาเดมี คาดว่า จะไปศึกษาด้าน Physics+อื่น ๆ ณ มหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก (University of Chicago)
วิชาการ
สำหรับด้านวิชาการ พี่คิดว่า การเรียนที่นี่ค่อนข้างหนักในช่วงแรก แต่พอปรับตัวจะไม่หนัก จนรู้สึกว่าโรงเรียนเรามันเรียนไม่หนักเลย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ความตัั้งใจ (หรือบ้าพลัง) ของน้องด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับ prep school อื่น ๆ แล้ว โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนที่เรียนสบายครับ นอกจากนี้ พี่เข้าใจว่า โรงเรียนเราค่อนข้างแข็งแรงทางด้านวิทยาศาสตร์มากกว่าด้านสายศิลป์ เพราะที่ สนร. ส่งมา เป็นเด็กเรียนวิทย์ฯ ทั้งนั้น
สำหรับการลงวิชาเรียน โรงเรียนบังคับให้เราลงเรียนอย่างน้อย 5 หน่วยกิต ทั้งนี้ต้องมี หนึ่งหน่วยกิตสำหรับภาษาอังกฤษ หนึ่งหน่วยกิตสำหรับประวัติศาสตร์ (เท่าที่พี่จำได้นะ) ทั้งนี้ แนะนำให้ลงวิชาให้กระจายไปหลาย ๆ อย่าง เพื่อทำให้ transcript ดูดี เป็นคนรู้รอบ และทำให้เราเรียนไม่เครียดด้วย
ต่อไปนี้เป็นการแนะนำวิชาเรียน จากที่พี่ได้ดูรายการของปีหน้า (ปี 50) นะครับ
English - มี AP English Literature, AP English Language นอกจากนั้นก็มีวิชาเลือกน่าสนใจมากมาย เท่าที่พี่ดูก็มีประมาณ ยี่สิบอย่างได้ เว่อร์มาก ๆ
คำแนะนำ: พี่โง่อังกฤษอ่ะครับ เลยลง English II ซึ่งเป็นของเด็กเรียนครับ พี่คิดว่าถ้าน้องไหว เลื่อนไปเรียนตัวที่สูงขึ้นดีกว่า
Mathematics - มี AP Calculus AB, AP Calculus BC และมียากกว่านั้นคือ Multivariable Calculus ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ยากนัก เรียนขำ ๆ ครับ
คำแนะนำ: ควรลงอย่างน้อย AP Calculus BC ครับ และถ้าคิดว่าอยากเรียน ลง Multi. Cal ลงไปเลย ไม่ยากเกินไปครับ ไม่โหด
Foreign Lauguage - ไม่มีวิชา AP สำหรับวิชานี้ ที่นี่มีฝรั่งเศส สเปน และละติน อ้อ ปีนี้มีภาษาจีนเปิดสอนเพิ่มด้วยครับ น่าสนใจดีสำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนภาษาเพิ่มเติม
คำแนะนำ: อยากเรียนน้องก็ลง 555
Science - มี AP Chemistry II, AP Biology II และ AP Physics II นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น What were you thinking? (Neuroscience), Making of Genius (Physics history), Marine Science แล้วก็ Intro. to Geology
คำแนะนำ: พี่เรียนวิชาเลือกสองตัวแรก ไม่ผิดหวังครับ ได้เรียนรู้อะไรน่าสนใจมากมายกว่าคอร์สธรรมดาครับ แต่ถ้าน้องคิดว่า อยากเรียนอะไรที่เอาไปสอบ AP ได้ ก็ลองดู อ้อ ยังมีวิชา biochemistry เป็น independent study อ่ะครับ เรียนอาทิตย์ละครั้ง เก็บหน่วยกิตสบาย ๆ แต่ก็เบียดเบียนเวลาพักผ่อนน้องนิดนึง ลองดูแล้วกันครับ
History and Social Sciences - มี AP European History, AP American Government, AP US History มีวิชาเลือกหลากหลายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Science and Religion, Comtemporary Isssues, World War II, Economics และอื่น ๆ มากมาย
คำแนะนำ: พี่ ซึ่งโง่อังกฤษ ไม่ได้ลงพวกนี้ ได้ลง US History ธรรมดาไป อาจารย์ที่สอนพี่ดีมาก ๆ เขาเท่อ่ะ สอนดีแล้วก็ยุติธรรมดี แถมแอบกวน ถ้าโชคดีขอให้น้องได้เรียนกับเขาครับ
Technology - มี AP Computer Science ให้เรียนเป็นเขียนโปรแกรมจาวา ไม่ยากอย่างที่คิด ยิ่งถ้าน้องเคยจับ ๆ คลำ ๆ เรื่องโปรแกรมจะไปฉิวเลย นอกจากนี้วิชาเลือกก็มากมาย ทั้ง Photoshop, CAD , Film Making, Web design และ Multimedia design ครับ
คำแนะนำ: ถ้าน้องสนใจ ก็ลงได้ แต่ว่าที่นี่สอนคอมไม่แข็งมากนะครับ ถ้าจะสอบ AP ควรตั้งใจหาอ่านเพิ่มเติมด้วย
Theater - อันนี้ไม่มี AP แต่ดูท่าจะหรูมาก มีทั้ง Acting และงานเกี่ยวกับละคร เช่น Costume Design, Design for the Perf. Arts, Sheakspeare in Hollywood และ Thinking like Leonardo เอามาลงเฉย ๆ อันนี้พี่ยังไม่เคยลองครับ
คำแนะนำ: อยากรู้ ลองเลยครับ
Music - อันนี้ไม่มี AP แต่มี Chorus, Instrumental Ensemble และ Music Theory ครับ
คำแนะนำ: พี่ว่าเท่ดี ใครชอบดนตรีก็ลง
Studio Art - มี AP Studio Art 2-D Design วิชานอกจากนี้ก็มี Ceramics, Painting, Sculpture อันนี้พี่พลาดเผลอลงอันง่ายไป ถ้าน้องสนใจ พี่คิดว่าสามารถเลื่อนขึ้นมาเลือกวิชาที่น่าสนใจและยากขึ้นได้ครับ
คำแนะนำ: ลองคุยกับอาจารย์ดู ถ้าขอเปลี่ยนเป็นเรียนศิลปะชั้นสูงเลยได้หรือเปล่า ถ้าได้ก็ดีครับ จะได้ทำงานใหญ่ ๆ เป็นชิ้นเป็นอัน (พี่ไปเรียนกับ freshmen อ่ะ แก่กว่ากันสี่ปี -_-")
กีฬา และกิจกรรมนอกหลักสูตร
กีฬา
กีฬาจะแบ่งเป็น สามฤดู เหมือนกับภาคเรียนครับ โดยกีฬาที่น่าสนใจก็มีหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่โรงเรียนเราไม่มีกีฬาอะไรประหลาด ๆ เหมือนโรงเรียนชาวบ้านเขาอ่ะครับ (อย่างพวกยิงธนู ฟันดาบ พายเรือ ไม่มีเลยอ่ะครับ)
นี่เป็นรายชื่อกีฬาที่มีให้ลงทีมครับ
Upper School girls: basketball, cross country (วิ่่งทรหด), field hockey (ฮอกกิ้ที่ไม่ได้เล่นบนน้ำแข็ง), lacrosse (เป็นกีฬาอเมริกันอย่างหนึ่งอ่ะครับ มาแล้วเดี๋ยวก็รู้ว่าคืออะไร), skiing, soccer, softball, swimming, water polo, tennis and track (วิ่งเหมือนกัน).
Upper School boys: baseball, basketball, cross country, football, hockey, skiing, soccer, swimming, tennis, track, wrestling (มวยปล้ำแบบมีชั้นเชิงอ่ะครับ ศิลปะการต่อสู้) and lacrosse.
Upper School co-ed: golf and water polo (junior varsity only).
พี่ลง JV Swimming ไปครับ (คือ JV หมายถึง Junior varsity คือ ทีมรุ่นเยาว์ ประมาณนั้นอ่ะครับ เป็นทีมมือสอง รองจาก Varsity) สนุกดี เหนื่อยหน่อย แต่ได้เพื่อนเยอะเหมือนกัน แล้วก็โค้ชใจดี ถ้าไม่มีอะไรอยากลงเป็นพิเศษก็ลงได้ครับ
ชุมนุมและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
ชุมนุม จริง ๆ แล้วเขาบังคับให้เราเข้าชุมนุม (รวมกีฬาด้วย) อย่างน้อย 2 หน่วย และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ (community services) อีกอย่างน้อย 20 ชั่วโมงครับ
ชุมนุม (club) มีให้เลือกหลากหลายอยู่พอสมควร มีทั้งที่น่าสนใจและไม่น่าสนใจเท่าไหร่ในสายตาพี่ มีทั้งแบบเข้าไปชิว หรือว่าเข้าไปเหมือนเรียนอีกคาบ อันนี้ก็แล้วแต่ครับ แต่ที่ที่นักเรียนทุนชาติไทยชื่นชอบ เขากันเป็นประจำ ได้แก่
- Math team เป็นชุมนุมที่เตรียมความพร้อมให้เราไปแข่งเลข แล้วเราก็ได้ไปแข่งเลขจริง ๆ นั่นแหละ โรงเรียนเรานับว่า เป็นโรงเรียนที่มีโอกาสได้ไปแข่งเลขบ่อยมาก (ประมาณสองอาทิตย์ต่อหนึ่งครั้ง) แม้ว่าการแข่งขันจะเป็นนัดเล็ก ๆ แต่ว่า บางรายการมีเงินเป็นเหยื่อล่อ จึงน่าสนใจที่น้อง ๆ จะพยายามแข่งดู นอกจากนี้การไปแข่งเลข ยังเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ไปเปิดหูเปิดตา หรือแม้กระทั่งได้พบเพื่อน ๆ ที่ห่างหายกันไปนานอีกด้วย ทีมเลขของโรงเรียนเรา ไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ แต่อาจารย์ที่คุมทีม คือ Mr.Yanco เป็นอาจารย์ที่มีไฟ และพร้อมสู้เพื่อทีมเสมอ (ถ้าเขาแข่งเองได้ คงแข่งไปแล้ว 55) เป็นที่ปรึกษาให้น้องเรื่องการแข่งขันได้สบาย
ปล. ถ้าน้องสนใจไป Math team อย่าลืมเรื่อง HMMT ให้รีบออกตัวก่อนว่า จะขอไปแข่งกับทีมชาติไทย ไม่อย่างนั้นจะตกหลุมพรางได้ (รายละเอียดติดต่อพี่หลังไมค์แล้วกัน)
- International club เป็นชุมนุมรวมนักเรียนอินเตอร์ส่วนใหญ่ น้องจะมีโอกาสหาเพือ่นได้จากชุมนุมนี้ ชุมนุมนี้จะว่าไปก็ไม่มีอะไรเท่าไหร่ บางทีก็มานั่งคุยกันว่าจะไปกินข้าวที่ไหนดี อะไรประมาณนั้น แต่ว่ากิจกรรมใหญ่ของ International club ก็คือ International Assembly ที่แต่ละชาติจะมีโอกาสได้แสดงเอกลักษณ์ของตน สนุกดีครับ แต่พี่เสียดายที่ปีพี่ไม่ได้แสดงอะไร (บังคับน้องๆ ที่ไป ต้องแสดงให้ได้ ถึงไม่ได้ร่วม club ก็แสดงได้) อาจารย์คุมชุมนุม คือ Ms.Bernstein ซึ่งเป็น International advisor ซึ่งใจดี แต่ถึงแม้เขาจะยุ่งแค่ไหน เขาก็ช่วยเหลือน้องตลอด ขึ้นรถลงเรือ ฝากเงินทำเอกสาร ฯลฯ เขาช่วยทุกอย่าง สนใจก็ลองเลือกดูครับ
อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้ชุมนุมของพี่ปิดบังความคิดน้องนะครับ ยังมีชุมนุมหลายอย่างที่น่าสนใจ แต่ความขี้เกียจครอบงำพี่ก่อน ไว้มาแล้วก็เลือกดูครับ อย่าง physics/robotics club, manga club อะไรพวกนี้ น่าสนใจดี
ส่วนกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่จะมาเรื่อย ๆ ครับ รอดูว่ามีอะไรน่าทำ น่าสน มีประโยชน์ ก็เลือกทำเอา พยายามทำให้เสร็จเร็ว ๆ ครับ จะได้เอาไปเขียนในใบสมัครมหาวิทยาลัยได้ด้วย และไม่ต้องมีห่วงกังวลว่าไม่ครบเงื่อนไขการจบครับ ของพี่ที่ทำก็มี วิ่งรณรงค์รักษามะเร็ง กับถักนิตติ้งให้ครอบครัวในย่านคนจน (อันนี้น่ารักไปหน่อย แต่ก็สบาย ไม่ต้องคิดมาก ฟังเพลงไป พักผ่อนด้วย)