ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Portrait"

จาก TSWiki
 
แถว 8: แถว 8:
 
แล้วมันยากตรงไหน
 
แล้วมันยากตรงไหน
 
อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
 
อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน
เพราะจริง ๆ แล้วมันคือการ integrate ศาสตร์ของการถ่ายรูป แทบทุกหัวข้อที่โพสต์ไปแล้ว และที่กำลังจะโพสต์
+
เพราะจริง ๆ แล้วมันคือการ integrate '''ศาสตร์'''ของการถ่ายรูป แทบทุกหัวข้อที่โพสต์ไปแล้ว และที่กำลังจะโพสต์
รวมกับ ศิลป์ และจิตวิทยา  
+
รวมกับ''' ศิลป์''' และจิตวิทยา  
 
สิ่งที่ยากอีกอย่างนึงคือหาคนมาเป็นแบบไม่ได้ ตอนแรก ๆ ที่เรียน คนสอนก็มักจะหามาให้
 
สิ่งที่ยากอีกอย่างนึงคือหาคนมาเป็นแบบไม่ได้ ตอนแรก ๆ ที่เรียน คนสอนก็มักจะหามาให้
 
แต่ถ้าออกมาถ่ายเองแล้ว ก็ต้องหาเอง ไม่งั้นก็ใช้โอกาสอื่น เช่น ทำงานให้หนังสือรุ่น แล้วถือโอกาสหัดถ่าย portrait  
 
แต่ถ้าออกมาถ่ายเองแล้ว ก็ต้องหาเอง ไม่งั้นก็ใช้โอกาสอื่น เช่น ทำงานให้หนังสือรุ่น แล้วถือโอกาสหัดถ่าย portrait  
แถว 18: แถว 18:
 
1. ดึงความเป็นตัวตนของแบบออกมา อย่า fake ทำยังไงก็ได้ให้เป็นธรรมชาติ มีความเป็นตัวของตัวเอง
 
1. ดึงความเป็นตัวตนของแบบออกมา อย่า fake ทำยังไงก็ได้ให้เป็นธรรมชาติ มีความเป็นตัวของตัวเอง
  
2. ควร ให้เห็น ตา (เน้นว่าควร) อย่างที่บอกไปแล้วว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ  แต่อันนี้ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี  
+
2. ควร ให้เห็น '''ตา''' (เน้นว่าควร) อย่างที่บอกไปแล้วว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ  แต่อันนี้ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี  
  
 
3. ไม่จำเป็นต้องไปหาแบบมาเดินถ่าย ... portrait แบบแอบถ่าย หรือแบบไม่ตั้งใจก็มี
 
3. ไม่จำเป็นต้องไปหาแบบมาเดินถ่าย ... portrait แบบแอบถ่าย หรือแบบไม่ตั้งใจก็มี
แถว 78: แถว 78:
 
ถ่ายหน้าตรง ๆ กับถ่ายจากมุมต่ำ กับมุมสูง ให้อารมณ์แตกต่างกัน
 
ถ่ายหน้าตรง ๆ กับถ่ายจากมุมต่ำ กับมุมสูง ให้อารมณ์แตกต่างกัน
  
อันนี้เป็นตัวอย่างของ portrait ที่[b] เกือบ[/b] ดี (เน้นว่าเกือบ)
+
อันนี้เป็นตัวอย่างของ portrait ที่ '''เกือบ''' ดี (เน้นว่าเกือบ)
 
ลองดู ข้อเสียคืออะไร ... เฉลยอยู่ข้างล่าง
 
ลองดู ข้อเสียคืออะไร ... เฉลยอยู่ข้างล่าง
  
แถว 86: แถว 86:
 
ถ้าดูผ่าน ๆ ก็อาจจะไม่สังเกต
 
ถ้าดูผ่าน ๆ ก็อาจจะไม่สังเกต
  
อันนี้เป็นตัวอย่าง portrait แบบ[b]ไม่เห็นตา [/b] เป็นข้อยกเว้นของสามสี่ข้อที่กล่า่วไปแล้ว
+
อันนี้เป็นตัวอย่าง portrait แบบ'''ไม่เห็นตา''' เป็นข้อยกเว้นของสามสี่ข้อที่กล่า่วไปแล้ว
  
 
http://i120.photobucket.com/albums/o181/pawatmwit/DSCF8818.jpg
 
http://i120.photobucket.com/albums/o181/pawatmwit/DSCF8818.jpg

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 20:37, 12 กรกฎาคม 2550

ถ่ายรูปให้มีชาติตระกูล ตอนที่ ๖: Portrait ---By Champ

Portrait แปลตรง ๆ ก็คือถ่ายรูปคน จะว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก หลายคนบอกว่า เป็นสุดยอดของการถ่ายรูป ใครถ่าย ก้อนหิน ใบไม้ แมลงปอ ที่ไหนสวย มาเจอ portrait ก็จอด แล้วมันยากตรงไหน อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน เพราะจริง ๆ แล้วมันคือการ integrate ศาสตร์ของการถ่ายรูป แทบทุกหัวข้อที่โพสต์ไปแล้ว และที่กำลังจะโพสต์ รวมกับ ศิลป์ และจิตวิทยา สิ่งที่ยากอีกอย่างนึงคือหาคนมาเป็นแบบไม่ได้ ตอนแรก ๆ ที่เรียน คนสอนก็มักจะหามาให้ แต่ถ้าออกมาถ่ายเองแล้ว ก็ต้องหาเอง ไม่งั้นก็ใช้โอกาสอื่น เช่น ทำงานให้หนังสือรุ่น แล้วถือโอกาสหัดถ่าย portrait

ตัวเรื่อง portrait จริง ๆ ก็ไม่รู้จะอธิบายเป็นเนื้อหายังไง ขอใช้ตัวอย่างรูป แล้วก็บรรยายเป็นกรณี ๆ ไป หลักการสำคัญของ portrait คือ

1. ดึงความเป็นตัวตนของแบบออกมา อย่า fake ทำยังไงก็ได้ให้เป็นธรรมชาติ มีความเป็นตัวของตัวเอง

2. ควร ให้เห็น ตา (เน้นว่าควร) อย่างที่บอกไปแล้วว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ แต่อันนี้ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี

3. ไม่จำเป็นต้องไปหาแบบมาเดินถ่าย ... portrait แบบแอบถ่าย หรือแบบไม่ตั้งใจก็มี

4. ระวังอย่าให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหลุดเฟรมไปโดยไม่ตั้งใจ ส่วนใหญ่ที่พบหลุดบ่อยคือ หู ผม มือ

แต่ถ้าให้หลุดแบบตั้งใจก็อีกเรื่องนึง เวลาดูแล้วมันรู้ว่าอันไหนตั้งใจไม่ตั้งใจ

5. ไ่ม่จำเป็นไม่ควรใช้แฟลช พยายามใช้แสงธรรมชาติให้มากที่สุด เพราะแสงธรรมชาติให้มิติมากกว่าและนุ่มกว่า


รูปแรก เป็นตัวอย่างการใช้รูหน้ากล้องกว้าง ทำให้ได้ภาพชัดตื้น หน้าชัด หลังละลาย (ถ้าืลืมให้กลับไปอ่านตอน ชัดลึก ชัดตื้น) ข้อแตกต่างระหว่างถ่ายดอกไม้ชัดตื้น กับถ่ายคนชัดตื้น คือ หน้าคนมีความกว้าง และหนา มากกว่าดอกไ้ม้ เวลาถ่ายก็ต้องให้โฟกัสมันตกอยู่ตั้งแต่ ปลายจมูกไปถึงหลังหู ส่วนผมจะหลุดนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร แล้วก็ละลายฉากหลังซะ

DSCF1014.jpg

ตัวอย่างที่สอง เป็นการใช้กฎสามส่วนกับ portrait ที่จริงไม่ได้ตามสามส่วนเป๊ะ แต่ค่อนมาทางกลาง ๆ นิดนึง บอกแล้วว่ากฎสามส่วนมันเป็นแค่ในทฤษฎี เวลาถ่ายจริง ๆ อีกเรื่องนึง

DSCF2128.jpg

อันนี้ก็เป็นกฎสามส่วน แต่ที่เอามาให้ดูคือเทคนิคการใช้กระจกกับ portrait การใช้กระจกทำให้ได้รูปที่ดูแปลกตาดี (ถ้่าถ่ายดี) หรือไม่ก็เละไปเลย

DSCF2511.jpg

ข้อควรระวังคือ ภาพในกระจกอยู่ไกลเป็นสองเท่าของวัตถุจริง ๆ (เด็กฟิสิกส์ช่วยหน่อย) ฉะนั้นการหาโฟกัส การวัดแสง ก็ต้องอ้างอิงตามนั้น หรือไม่ก็ใช้วัตถุจริง ๆ เป็นหลัก แ้ล้วปล่อยรูปในกระจกหลุดไป (ไม่รู้เข้าใจป่าว ก็ลอง ๆ ดูละกัน ไปลองในห้องน้ำอ่ะ -- รูปนี้ก็ถ่ายในห้องน้ำ)

อันนี้ก็กฎสามส่วน แต่ไม่ได้ใช้ตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นจุดตัด แต่ใช้หัวคิ้วแทน เพราะตาสองข้างในรูปนี้ำเด่นเท่ากัน เลยใช้ตรงกลางระหว่างตาสองข้าง แล้วก็เล่นมุมกล้องนิดหน่อย ใช้ white balance แบบ cloudy ทำให้รูปมันดูเหลืองๆ ดี

DSCF3216.jpg


อันนี้เป็นตัวอย่างของ portrait แบบไม่ตั้งใจ

DSCF8122.jpg

จะเห็นว่ากฎสามส่วนมีความสำคัญใน portrait เกือบทุกรูป

อันนี้จะเรียกว่า portrait ดีป่าวไม่รู้ เอามาให้ดูเล่น

DSCF8451.jpg


อันนี้ก็ใช้ white balance แบบ cloudy

DSCF8645.jpg

ลองสังเกตมุมกล้อง ถ่ายหน้าตรง ๆ กับถ่ายจากมุมต่ำ กับมุมสูง ให้อารมณ์แตกต่างกัน

อันนี้เป็นตัวอย่างของ portrait ที่ เกือบ ดี (เน้นว่าเกือบ) ลองดู ข้อเสียคืออะไร ... เฉลยอยู่ข้างล่าง

DSCF8801.jpg

เฉลย: หัวข้างบนแหว่งไปนิดนึง อันนี้เป็นแบบไม่ตั้งใจ ถ้าดูผ่าน ๆ ก็อาจจะไม่สังเกต

อันนี้เป็นตัวอย่าง portrait แบบไม่เห็นตา เป็นข้อยกเว้นของสามสี่ข้อที่กล่า่วไปแล้ว

DSCF8818.jpg

จะถ่า่ย portrait แบบไม่เห็นตา ให้ออกมาดูมีชาติตระกูล ต้องแน่ใจว่า อารมณ์ถูก express ออกมาทางอื่นอย่างชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย facial expression ตัวอย่างในรูปคือไม่เห็นทั้งหน้า และตา

อันนี้แบบเห็นตา (แล้วจะบอกทำไม)

DSCF8819.jpg

ที่เอามาให้ดูจริง ๆ แล้ว คือ portrait ไม่จำเป็นต้องเป็นชัดตื้นอย่างเดียว ชัดลึกก็มี

ตัวอย่าง Peace's portrait เอามาให้ดูเล่น

IMG_0015.jpg

(credit: Peace)


จบแล้ว

"มีอีกข้อนึงสำคัญเหมือนกัน เวลาถ่าย portrait ต้องดูเรื่อง background ด้วย อย่าให้คนมีเขา คือ ห้ามมีกิ่งใหม่ เสาสีดำ อยู่บนหัวคน มันจะกลายเป็นเขา เป็นข้อห้ามสำคัญของการถ่าย portrait ครับๆ" --เพชร