แสงหน้า แสงข้าง แสงหลัง

จาก TSWiki
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 19:19, 12 กรกฎาคม 2550 โดย Pawat (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

ใครเคยถ่ายรูปแล้วเป็นแบบนี้บ้าง

P8025810.jpg

(credit: Abby) อันนี้ภาษาคนถ่ายรูปเค้าเรียก หน้ามืด เกิดจากอะไร ตอบง่าย ๆ ก็คือ กล้องมันวัดแสงผิดที่ รูปนี้ฉากข้างหลังมันสว่าง กล้องมันก็ไปวัดแสงตรงที่สว่าง เลยคิดว่าทั้งรูปสว่างเท่ากันหมด มันก็เลยออกมาเป็นแบบนี้ ทั้งที่จริง ๆ แล้วข้างหน้าตรงที่ต้องการให้มันชัดมันมืดอยู่

อีกตัวอย่างของภาพหน้ามืด

IMG_0041.jpg

ที่จริงก็ไม่มืดซะทีเดียว แต่มีเงามาตกอยู่ที่หน้าเยอะไปหน่อย


วิธีแก้ปัญหา 1. ตบflash ก็คือการเปิด flash ลบเงามืดข้าหน้า ก็จะได้รูปที่สว่างทั้งหน้าทั้งหลัง 2. วัดแสงข้างหน้าซะเอง โดยเปิดระบบวัดแสงเป็นแบบเฉพาะจุด แทนที่จะให้กล้องมันไปวัดข้างหลัง ข้อหลังขอเก็บไว้เล่าในโอกาสต่อไป ิ

ข้อควรระวังเรื่องการตบ flash คือ ถ้าตบแบบไม่คิด จะได้ภาพที่หน้าแบน ๆ แบบนี้

DSCF4188.jpg

เนื่องมาจากว่า แสงแฟลชจากกล้องมันไม่ใช่แสงธรรมชาติ เรียกให้หรูก็เรียกว่าแสงแข็งคือมันไม่นุ่มนวลชวนฝัน

แล้วถ้าอยากใช้แสงธรรมชาติล่ะ... แสงธรรมชาติแบ่งตามเวลาได้เป็น แสงตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนเย็น แสงที่เหมาะกับการถ่ายรูปให้สวยคือตอนเย็น ช่วง 3-5 โมง ของวันปกติ (ไม่ใช่ช่วงที่กลางวันยาว หรือสั้นเกินไป) ส่วนแสงตอนเช้า เราไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ เพราะตื่นไม่ทัน :P แสงตอนเที่ยง ๆ มักจะเข้มเกินไป ถ่ายยากอยู่เหมือนกัน ไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง


แบ่งตามทิศทางแสงได้ดังนี้ แสงข้าง แสงหลัง แสงหน้า ที่จริงจะแบ่งย่อยลงไปกว่านี้ก็ได้ แล้วแต่ความขยัน

แสงหน้าคือแสงที่เราคุ้นเคยกันดี แสงจาก flash โดยทั่วไปก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ (ทั้งนี้ไม่รวมแสง flash ที่ได้จากการใช้แผ่น reflex) หมายเหตุ การใช้ flash จะกล่าวถึงตอนต่อไป ว่าด้วย flash ล้วน ๆ

แสงหลัง หลายคนไม่ชอบ อย่างที่เห็นไปแล้วในรูปแรก เพราะมันทำให้หน้าแบบมืด ถ้าวัดแสงไม่ดี หรือไม่รู้ว่าต้องทำยังไงกับมัน

แต่ความจริงแล้ว แสงที่มาจากข้างหลัง ก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งแบบตั้งใจ และไม่ตั้งใจ เช่น

IMG_7664.jpg

(credit: P'Chin) แสงตอนเย็น ๆ ถ้าจัดให้ดี ๆ แล้วก็จะได้ภาพแสงสวยรัญจวนใจแบบนี้ (ไ่ม่รู้พี่ชินจงใจให้รูปนี้เป็นรูปแสงหลังป่าว แต่มันเป็นไปแล้ว)

ตัวอย่างที่สอง

DSCF2988-1.jpg

อันนี้แสงหลังค่อนข้างชัดเจนมาก เพราะมีอีฟอยู่ทั้งคน เอ้ย มีดวงอาทิตย์ือยู่ทั้งดวง ทำให้หน้ามืดเกือบสนิทไปเลย (อันนี้จงใจ) การวัดแสงข้างหลัง แล้วปล่อยให้ฉากหน้ามืดไป เรียกให้หรูว่า Silhouette(ซิลลูเอท) แปลตามพจนานุกรมว่า ภาพโครงร่างดำบนพื้นขาว เทคนิคมันคือ ให้เห็นเฉพาะโครงร่าง โดยไม่ต้องให้เห็นรายละเอียด โครงร่างจะบอกเล่าเรื่องราวของมันเอง ที่จริงรูปนี้ไม่ใช่ซิลลูเอท 100% เพราะยังพอเห็นรายละเอียดอยู่ ดูรู้ว่าเป็นปอง

อันนี้ก็เป็นอีกตัวอย่างของการใช้แสงหลัง

DSCF1986.jpg

Location: Blair Academy, NJ วันที่ไปถ่ายแสงสวยมาก ให้่ขอบเงาคมชัด แล้วเป็นแสงเหลือง ๆ นวล ๆ ไม่ขาวซะทีเีดียว พอส่องทะลุใบไม้ใบหญ้าออกมาแล้วให้ภาพน่ารัญจวนใจ

การถ่ายรูป หลายครั้งก็ต้องพึ่งดวงเหมือนกัน

เทคนิคเกี่ยวกับแสงหลังอันสุดท้ายที่จะขอกล่าวถึงคือ Rim light หรือ แสงตามขอบ สังเกตที่ผม Chris

DSCF0717.jpg

จะเห็นว่าแสงลอดทะลุออกมา ส่องเป็นประกายสีทอง การใช้แสงหลังกับ rim light มีเงื่อนไขคือ ตัวแบบต้องมีส่วนที่ยื่นออกมาเป็นขน ๆ เช่น ผม ขน เส้นของใบไม้ ต้นไม้ และือื่น ๆ เพื่อให้แสงมันลอดออกมาได้ ัที่จริงมีตัวอย่างของ rim light ที่ดีกว่านี้ แต่หาไม่เจอ  :(


สุดท้ายแล้ว แสงข้าง ทั้งนี้รวมถึงแสงจากทิศไหนก็ตามที่ไม่ใช่หน้ากับหลัง ประโยชน์คือ ทำให้ภาพดูมีมิติ มีความลึก ไม่แบบๆ เหมือนรูปที่โดนตบ flash ตัวอย่าง

IMG_0032.jpg

การใช้แสงข้าง เทคนิคอยู่ที่การมอง และการจัดตำแหน่ง ไม่มีอะไรยาก แค่ฝึกบ่อย ๆ จนมองปร๊าดเดียวก็รู้ว่าต้องจัด ต้องหมุนยังไง

อีกตัวอย่างนึง เป็นแสงข้าง ค่อนไปทางหลัง

DSCF0624-1.jpg


จบตอนที่ ๔


ปล ขอ feedback ด้วยนะ ใครอยากให้เพิ่มอะไร ตรงไหนไม่เข้าใจ ถามได้ ทำแล้้วมีแต่คนอ่าน ไม่มีคนตอบรับ มันก็เหมือนไม่ได้อะไรขึ้นมาอ่ะ