Portrait
[b]ถ่ายรูปให้มีชาติตระกูล ตอนที่ ๖: Portrait[/b]
[b]Portrait[/b] แปลตรง ๆ ก็คือถ่ายรูปคน จะว่าง่ายก็ง่าย ยากก็ยาก หลายคนบอกว่า เป็นสุดยอดของการถ่ายรูป ใครถ่าย ก้อนหิน ใบไม้ แมลงปอ ที่ไหนสวย มาเจอ portrait ก็จอด แล้วมันยากตรงไหน อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน เพราะจริง ๆ แล้วมันคือการ integrate ศาสตร์ของการถ่ายรูป แทบทุกหัวข้อที่โพสต์ไปแล้ว และที่กำลังจะโพสต์ รวมกับ ศิลป์ และจิตวิทยา สิ่งที่ยากอีกอย่างนึงคือหาคนมาเป็นแบบไม่ได้ ตอนแรก ๆ ที่เรียน คนสอนก็มักจะหามาให้ แต่ถ้าออกมาถ่ายเองแล้ว ก็ต้องหาเอง ไม่งั้นก็ใช้โอกาสอื่น เช่น ทำงานให้หนังสือรุ่น แล้วถือโอกาสหัดถ่าย portrait
ตัวเรื่อง portrait จริง ๆ ก็ไม่รู้จะอธิบายเป็นเนื้อหายังไง ขอใช้ตัวอย่างรูป แล้วก็บรรยายเป็นกรณี ๆ ไป หลักการสำคัญของ portrait คือ 1. ดึงความเป็นตัวตนของแบบออกมา อย่า fake ทำยังไงก็ได้ให้เป็นธรรมชาติ มีความเป็นตัวของตัวเอง 2. ควร ให้เห็น ตา (เน้นว่าควร) อย่างที่บอกไปแล้วว่า ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ แต่อันนี้ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณี 3. ไม่จำเป็นต้องไปหาแบบมาเดินถ่าย ... portrait แบบแอบถ่าย หรือแบบไม่ตั้งใจก็มี 4. ระวังอย่าให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหลุดเฟรมไปโดยไม่ตั้งใจ ส่วนใหญ่ที่พบหลุดบ่อยคือ หู ผม มือ แต่ถ้าให้หลุดแบบตั้งใจก็อีกเรื่องนึง เวลาดูแล้วมันรู้ว่าอันไหนตั้งใจไม่ตั้งใจ 5. ไ่ม่จำเป็นไม่ควรใช้แฟลช พยายามใช้แสงธรรมชาติให้มากที่สุด เพราะแสงธรรมชาติให้มิติมากกว่าและนุ่มกว่า
รูปแรก เป็นตัวอย่างการใช้รูหน้ากล้องกว้าง ทำให้ได้ภาพชัดตื้น หน้าชัด หลังละลาย (ถ้าืลืมให้กลับไปอ่านตอน ชัดลึก ชัดตื้น) ข้อแตกต่างระหว่างถ่ายดอกไม้ชัดตื้น กับถ่ายคนชัดตื้น คือ หน้าคนมีความกว้าง และหนา มากกว่าดอกไ้ม้ เวลาถ่ายก็ต้องให้โฟกัสมันตกอยู่ตั้งแต่ ปลายจมูกไปถึงหลังหู ส่วนผมจะหลุดนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร แล้วก็ละลายฉากหลังซะ [img][/img]
ตัวอย่างที่สอง เป็นการใช้กฎสามส่วนกับ portrait ที่จริงไม่ได้ตามสามส่วนเป๊ะ แต่ค่อนมาทางกลาง ๆ นิดนึง บอกแล้วว่ากฎสามส่วนมันเป็นแค่ในทฤษฎี เวลาถ่ายจริง ๆ อีกเรื่องนึง [img][/img]
อันนี้ก็เป็นกฎสามส่วน แต่ที่เอามาให้ดูคือเทคนิคการใช้กระจกกับ portrait การใช้กระจกทำให้ได้รูปที่ดูแปลกตาดี (ถ้่าถ่ายดี) หรือไม่ก็เละไปเลย [img][/img] ข้อควรระวังคือ ภาพในกระจกอยู่ไกลเป็นสองเท่าของวัตถุจริง ๆ (เด็กฟิสิกส์ช่วยหน่อย) ฉะนั้นการหาโฟกัส การวัดแสง ก็ต้องอ้างอิงตามนั้น หรือไม่ก็ใช้วัตถุจริง ๆ เป็นหลัก แ้ล้วปล่อยรูปในกระจกหลุดไป (ไม่รู้เข้าใจป่าว ก็ลอง ๆ ดูละกัน ไปลองในห้องน้ำอ่ะ -- รูปนี้ก็ถ่ายในห้องน้ำ)
อันนี้ก็กฎสามส่วน แต่ไม่ได้ใช้ตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นจุดตัด แต่ใช้หัวคิ้วแทน เพราะตาสองข้างในรูปนี้ำเด่นเท่ากัน เลยใช้ตรงกลางระหว่างตาสองข้าง แล้วก็เล่นมุมกล้องนิดหน่อย ใช้ white balance แบบ cloudy ทำให้รูปมันดูเหลืองๆ ดี [img][/img]
อันนี้เป็นตัวอย่างของ portrait แบบไม่ตั้งใจ [img][/img] จะเห็นว่ากฎสามส่วนมีความสำคัญใน portrait เกือบทุกรูป
อันนี้จะเรียกว่า portrait ดีป่าวไม่รู้ เอามาให้ดูเล่น [img][/img]
อันนี้ก็ใช้ white balance แบบ cloudy [img][/img] ลองสังเกตมุมกล้อง ถ่ายหน้าตรง ๆ กับถ่ายจากมุมต่ำ กับมุมสูง ให้อารมณ์แตกต่างกัน
อันนี้เป็นตัวอย่างของ portrait ที่[b] เกือบ[/b] ดี (เน้นว่าเกือบ) ลองดู ข้อเสียคืออะไร ... เฉลยอยู่ข้างล่าง [img][/img] เฉลย: หัวข้างบนแหว่งไปนิดนึง อันนี้เป็นแบบไม่ตั้งใจ ถ้าดูผ่าน ๆ ก็อาจจะไม่สังเกต
อันนี้เป็นตัวอย่าง portrait แบบ[b]ไม่เห็นตา [/b] เป็นข้อยกเว้นของสามสี่ข้อที่กล่า่วไปแล้ว [img][/img] จะถ่า่ย portrait แบบไม่เห็นตา ให้ออกมาดูมีชาติตระกูล ต้องแน่ใจว่า อารมณ์ถูก express ออกมาทางอื่นอย่างชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย facial expression ตัวอย่างในรูปคือไม่เห็นทั้งหน้า และตา
อันนี้แบบเห็นตา (แล้วจะบอกทำไม) [img][/img] ที่เอามาให้ดูจริง ๆ แล้ว คือ portrait ไม่จำเป็นต้องเป็นชัดตื้นอย่างเดียว ชัดลึกก็มี
ตัวอย่าง Peace's portrait เอามาให้ดูเล่น [img][/img] (credit: Peace)
จบแล้ว
"มีอีกข้อนึงสำคัญเหมือนกัน เวลาถ่าย portrait ต้องดูเรื่อง background ด้วย อย่าให้คนมีเขา คือ ห้ามมีกิ่งใหม่ เสาสีดำ อยู่บนหัวคน มันจะกลายเป็นเขา เป็นข้อห้ามสำคัญของการถ่าย portrait ครับๆ" --เพชร