ชัดตื้น ชัดลึก

จาก TSWiki

บทนำ (ต่อ) คราวทีี่แล้วลืมบอกไป ว่า เทคนิคทั้งหลายที่เราเอามาลง ส่วนใหญ่ใช้ได้กับกล้องทั่วไป การถ่ายรูปให้ดูมีชาติตระกูล ไม่จำเป็นต้องใช้กล้องหรูเสมอไป กล้องธรรมดาส่วนใหญ่ออกแบบมาให้มีฟังก์ชั่นที่เราพูดถึงเกือบทั้งหมด แค่บางคนไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน คืออะไร ใช้ยังไง อ่านคู่มือก็ไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปหาซื้อ D70 มาเพื่อฝึก มีแค่ไหนก็ใช้แ่ค่นั้น กล้องดีมีชัยไปกว่าครึ่ง แต่อยากจะบอกว่าอีกครึ่งนึงมันอยู่ที่มือเรา


ตอนที่ ๒: ชัดตื้น ชัดลึก

ต่อจากคราวที่แล้ว ดูรูปนี้แล้วเห็นอะไร

IMG_0017.jpg

(credit: Best)

แล้วต่างกับรูปนี้ยังไง

DSCF7933.jpg

คนทั่วไปมองว่ามันก็ดูเหมือน ๆ กัน เป็นดอกไม้เหมือนกัน แต่ความจริงแล้วความแตกต่างคือ พื้นหลัง

รูปแรก จะเห็นว่าพื้นหลังมัน 'ละลาย' หายไป คือเห็นเขียว ๆ แต่ไม่เห็นรายละเอียด ส่วนรูปหลัง เห็นไปถึง lake ถึง boat house

สิ่งที่ทำให้ต่างกันคือ ระยะชัด

ซึ่งเป็นผลมาจาก ขนาดรูหน้ากล้อง (ขอไม่ใ้่ช้ภาษาอังกฤษในที่นี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาไทย) หยิบกล้องขึ้นมา กล้องใครที่มีที่ให้ปรับโหมดไ้ด้ ลองหมุนไปที่ตัว A แล้วเลื่อนขนาดดู จะมีให้เลือก ค่า F ตั้งแต่ F2.8, F3.2, F3.6, ... ไล่ไปถึง F8 บางกล้องอาจจะได้มากกว่านั้น

แล้วมันคืออะไร

เรื่องนี้ถ้าจะให้ว่ากันจริง ๆ แล้วเรื่องมันยาว ขอเก็บไว้เล่าว้ันหลัง

เล่นกันง่าย ๆ คือ [b]F น้อย รูหน้ากล้องกว้าง แสงเข้ามาก ระยะชัดน้อย[/b] ถ้า F มาก ทุกอย่างก็ตรงข้าม รูหน้ากล้องเล็กลง แสงเข้าน้อยลง แต่ระยะชัดมากขึ้น หลักการมันก็เหมือนกล้องรูเข็มแบบที่พีชบอกไปแล้ว (เด็กฟิสิกส์ ใครว่างมา่ช่วยกันทำมาหากินหน่อย)

กลับเข้าเรื่อง รูปแรก ค่า F ที่เบสท์ใช้ตอนนั้น จำไม่่ได้แน่นอน แต่น่าจะประมาณ 3.6 ถึง 5 กว่า ๆ ระยะชัดมันก็เลยตกอยู่ที่ดอกไม้ กลีบหลัง ส่วนกลีบหน้า กับ พื้นหลัง หลุดโฟกัส โดน'ละลาย' ไป ส่วนรูปหลัง เราใช้ F8 ซึ่งเป็นรูหน้ากล้องขนาดเล็กสุดเท่าที่ทำไ้ด้ตอนนั้น ระยะชัดมันก็เลยได้ตั้งแต่ดอกไม้ไปถึงทะเลสาบ

มีตัวอย่างการละลายพื้นหลังมาให้ดูอีก

DSCF4957.jpg

อันนี้ถ่ายที่ Stony Point

DSCF8153.jpg

อันนี้ถ่ายริมlake

แล้วการละลายพื้นหลังมันช่วยอะไร คำตอบคือมันทำให้วัตถุที่อยู่ในโฟกัส ดูเด่นเป็นสง่า แล้วรูปโดยรวมก็จะดูสวยน่ารัญจวนใจมากขึ้น

รูปนี้ถ่ายที่สวนพฤกษศาสตร์ดอยอินทนนท์ ให้ทายว่าใช้ F เท่าไหร่

DSCF5489.jpg

ตอบ 6.3

มีตัวอย่างอีก

DSCF5546.jpg

พื้นหลัง ถึงแม้จะเป็นดอกกล้วยไม้เหมือนกัน แต่เราไม่ต้องการให้มันมาแย่งความสนใจ

ก็ละลายมันซะ

อันนี้ถ่ายที่ Mount Major

DSCF8739.jpg

จะเห็นว่าระยะชัดจำกัดอยู่แค่ตรงกลาง ส่วนหน้ากับหลังละลายหายไปแล้ว

DSCF8085.jpg

อันนี้ถ่ายหน้า Sargeant ใช้ F 2.8

หลาย ๆ รูปที่เอามาให้ดู เราใช้ [b]Macro[/b] mode ที่มีอยู่ในกล้องส่วนใหญ่ วิธีการเิปิดคือ หมุน(หรือกด) ตรงที่มันเป็นรูปดอกไม้ Mode นี้มันทำมาให้ถ่ายดอกไม้ แต่เอาไปถ่ายใบไม้ หรืออย่างอื่นก็ไม่ว่ากัน

เรื่อง macro ถ้าจะให้ว่ากันจริง ๆ ก็คงอีกยาว แต่ง่าย ๆ คือ มันทำให้เราถ่ายของเล็ก ๆ ได้ดูดีมีชาติตระกูล

ข้อควรระวัง macro มีีข้อจำกัด ในแต่ละกล้อง ส่วนใหญ่จะบอกไว้เป็น เซนติเมตร เช่นกล้องเรา macro 10 cm คือ ถ้าเข้าไปถ่ายใกล้กว่า 10 เซน มันจะหาโฟกัสไม่เจอ แล้วความเละจะตามมา

กล้องบางรุ่น ถ่ายได้ถึง 0 cm คือเอาเลนส์ไปชนดอกไม้ได้เลย แต่จริง ๆ แล้ว 10 cm ก็พอสำหรับกล้องเ่่ก่าแต่เก๋า  :P

Macro mode ถ้าใช้กับค่า F น้อย ๆ เช่น 2.8, 3.6 จะเป็นคู่ขาที่ไปกันได้ดีมาก สำหรับเราแล้วมันเหมือนเป็นสูตรเลย เจอดอกไม้ ใ่บไม้ ถ้าเห็นแสงสวย ๆ ก็ หมุนไปที่ A ดัน F ต่ำสุด เปิด Macro แล้ววิ่งเข้าใส่ ถ้าจัดองค์ประกอบแบบ กฎสามส่วน ได้ ก็จะเป็นที่น่าัรัญจวนใจมากขึ้น


ข้อควรระวัง ๒ กล้องทุกรุ่น ไม่ว่าจะแพงขนาดไหน ก็มีข้อจำกัดเรื่องขนาดรูรับแสง กับ speed shutter ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึงตรงนี้ เพราะเรื่องยาวมาก แต่สรุปง่าย ๆ คือ ถ้าเปิด F ต่ำสุด แล้วพบว่า รูปมันขาวเวอร์ไป ก็เพิ่มค่า F (ลดขนาดรูรับแสง) ให้แสงมันเข้าน้อยลง ก็จะได้รูปที่ดูมีชาติตระกูล

Enjoy your Macro...