กฎสามส่วน

จาก TSWiki
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 10:58, 15 เมษายน 2550 โดย Pawat (พูดคุย | เรื่องที่เขียน)

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)

บทนำ เนื่องจากว่าตอนนี้เราค่อนข้างมีเวลาว่างมากขึ้น เลยอยากใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ประกอบกับหลายคนถามมาว่าถ่ายรูปยังไงให้มันดูดีมีชาติตระกูล series ชุด"ถ่ายรูปให้ดูมีชาติตระกูล" จึงถือกำเนิดขึ้น

ซึ่งตามที่ตั้งใจไว้น่าจะมีประมาณ 8-9 ตอน แบ่งตามหัวข้อ ตามอำเภอใจ โปรดอย่าเข้าใจว่าจะเรียงเหมือนในหนังสือสอนถ่ายรูป เพราะส่วนนึงเราเอามาจากที่เรียนก็จริง แต่หลายส่วนเกิดจากประสบการณ์

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคน Spring break ก็อย่าลืมถ่ายรูป(แบบมีชาติตระกูล) มาแปะประจานด้วยล่ะ :P

ปล ท่านเพชร ท่านกัน ท่านพีช และโปรท่านอื่น ๆ เห็นตรงไหนผิด หรือมีข้อแนะนำอะไรเพิ่มเติมก็เชิญตามสะดวก


ตอนที่ ๑ กฏสามส่วน

---By Champ

จริง ๆ จะว่าไปแล้วมันก็ไม่ใช่กฎ แค่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ทำให้รูปธรรมดามันดูมีชาิติตระกูลขึ้น

หลักการง่าย ๆ คือ ลากเส้นในจินตนาการ สี่เส้น ตัดกันเป็นตาราง OX ตามรูป จะได้่่ช่อง 9 ช่อง ขนาดเกือบเท่า ๆ กัน แล้วก็วาง จุดเด่นของภาพ ลงไปบนจุดตัดที่เกิดขึ้นสี่จุด (จุดใดจุดหนึ่ง) บางรูปมีจุดเด่นที่รอง ๆ ลงไป ก็วางไว้ที่จุดอื่น หรือวางที่อื่นเลยก็ได้

เหตุที่เรียกว่ากฏสามส่วนคาดว่ามาจากการแบ่งความกว้างและความยาวของ frame เป็นสามส่วนเท่า ๆ กัน

ตัวอย่าง

DSCF0645.jpg

รูปนี้เป็นลูกบอลธรรมดา ถ้าวางลูกบอลไว้ตามรูปก็อาจจะไม่มีคนสนใจ

(จะเห็นว่า academic building เป็นจุดเ่ด่นที่สอง ซึ่งเราไม่ได้ต้องการเน้น แต่เอาไปวางไว้จุดตัดที่สอง ทำให้มันดูมีเรื่องราวมากขึ้น)

ตัวอย่างที่สอง

DSCF4101-1.jpg

ชิงข้าหลัง Beta house ชิงช้าสีน้ำเงินคืออันที่อยู่ตรงจุดตัดพอดี (เกือบ ๆ พอดี)

DSCF2221.jpg

อันนี้ถ่ายที่ค่ายสอนหนังสือเด็กที่โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนแห่งหนึ่ง ตัวกาน้ำไม่ได้อยู่ตรงจุดตัดพอดี แต่เกือบ ๆ พอดี

นอกจากภาพวัตถุสิ่งของแล้ว กฎสามส่วนยังใช้ได้ผลดีกับการถ่ายภาพคน และเรื่องราว เช่น

DSCF1253.jpg

รูปนี้ลูกบาสคือจุดที่ต้องการเน้น เลยวางไว้ที่จุดตัดบนซ้าย

ตัวอย่างที่สอง

DSCF3158-1.jpg

ป้ายห้องน้ำชายไม่ได้ตั้งใจให้อยู่บนจุดตัด แต่มันบังเอิญ  :P

สำหรับภาพคน ที่ต้องการให้เป็นแนว portrait เค้าว่ากันว่า แววตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ ดังนั้น ให้วางตา (ข้างใดข้างหนึ่ง) ไว้บนจุดตัด ตัวอย่าง

DSCF8168-1.jpg

จะสังเกตว่า การใช้กฎสามส่วน ไม่จำเป็นต้องวางแบบ เป๊ะ ๆ ก็ได้ เช่น

IMG_0017.jpg

(credit: Best) ดอกไม้มันใหญ่มาก เทียบกับขนาดภาพ ถ้าวางแบบสามส่วน กลีบบางส่วนอาจจะหายไป ก็เลื่อนมันลงมานิดนึง ไม่ว่ากัน

กล้องบางรุ่น มีฟังก์ชั่น ลากเส้นตัดกันสี่เส้นให้ในจอ ก่อนถ่าย ที่จริงก็ไม่จำเป็นเท่าไหร่ เราก็ไม่ค่อยได้ใช้ แต่ฟังก์ชั่นนี้มีประโยชน์กับการถ่ายภาพที่มีน้ำ เช่น ทะเล ทะเลสาบ ซึ่งจะกล่าวถึงตอนต่อ ๆ ไป

ข้อควรระวังคือ

ใช้กฎสามส่วนให้เป็น ลากเส้นในใจให้ได้โดยไม่ต้องเอาไ้ม้บรรทัดไปวาง

แล้วก็อย่าให้มันมาเป็นกรอบจำกัดความคิดสร้างสรรค์ ทำลายจินตนาการอันบรรเจิด

ปล

มีคนถามว่า ที่ว่างที่เหลือเอาไว้ทำไร

คำตอบคือ ก็ปล่อยมันไว้อย่างงั้นแหละ

"แบ่งที่ว่างตรงกลางไว้่คอย..."

ความคิดเห็น

งดงามมาก ยอด 15:04, 2 มีนาคม 2007 (PST) (แบบที่เห็นนี้คือ พิมพ์ว่า งดงามมาก ~~~~ แค่นี้ฮะ) หรอ